โรงพยาบาล

“มหาดไทย”สั่ง 5 จังหวัดปริมณฑลปิดสถานที่เสี่ยงเริ่ม 22 มี.ค.นี้

กระทรวงมหาดไทย สั่ง 5 จังหวัดปริมณฑล “นนทบุรี-นครปฐม-ปทุมธานี-สมุทรปราการ-สมุทรสาคร” ปิดสถานที่เสี่ยง ตามประกาศกรุงเทพมหานคร

เมื่อวันที่ 21 มี.ค.63 นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้ส่งหนังสือด่วนที่สุดถึงผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร ให้ออกมาตรการในการป้องกันการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 (โควิด-19) เช่นเดียวกับกรุงเทพมหานคร ที่ได้ออกประกาศไปเมื่อบ่ายของวันที่ 21 มี.ค.63

โดยในหนังสือระบุว่า ตามที่กระทรวงมหาดไทยได้แจ้งให้จังหวัดปริมณฑลพิจารณาดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2563 และแถลงมาตรการของนายกรัฐมนตรี เรื่องการพิจารณาสั่งปิดสถานบริการและสถานประกอบการที่เปิดให้บริการในลักษณะคล้ายสถานบริการนั้น

เพื่อให้การดำเนินการตามมาตรการยับยั้งการระบาดภายในประเทศให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กระทรวงมหาดไทยพิจารณาแล้วเห็นว่า จังหวัดปริมณฑลซึ่งเป็นพื้นที่ติดต่อกับกรุงเทพมหานครและเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงในการแพร่ระบาดของโรค จึงขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดปริมณฑลในฐานะประธานกรรมการโรคติดต่อจังหวัด อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 จัดประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเพื่อประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อในไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด -19) ในพื้นที่ โดยพิจารณาพื้นที่ทุกแห่ง และกิจกรรมทุกประเภทที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสฯ

หากเห็นว่ามีความจำเป็นเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาด ให้พิจารณาปิดพื้นที่ ทั้งสถานที่ราชการและเอกชน หรืองดกิจกรรมใดๆ ที่มีประชาชนไปร่วมทำกิจกรรม หรือมีการเคลื่อนย้ายคนเป็นจำนวนมาก ยกเว้น ร้านอาหาร ร้านเครื่องดื่มที่จำหน่ายให้ผู้ซื้อนำกลับบ้าน ร้านอาหารในโรงแรมที่รองรับผู้พักอาศัย(แต่ต้่องไม่มีลักษณะเป็นสถานบริการ) ร้านขายของปลีก ตลาดและตลาดนัด(เปิดเฉพาะการจำหน่ายอาหารสด อาหารแห้ง อาหารปรุงสำเร็จ เพื่อนำกลับไปบริโภคที่อื่น อาหารสัตว์ และสินค้าเบ็ดเตล็ด ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ) ร้านขายยา สถานพยาบาล สถานีบริการน้ำมัน (เฉพาะส่วนที่บริการน้ำมัน) งานศพ ให้ดำเนินการต่อไปได้ โดยกำหนดให้มีมาตรการคัดกรองโดยวัดอุณหภูมิ การรักษาระยะห่างระหว่างบุคคล รักษาความสะอาดของพื้นที่ และพนักงานอย่่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป จนกว่าคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดจะพิจารณาเห็นสมควร

ล่าสุดทางจังหวัดปทุมธานีได้สั่งปิด 29 จุดเสี่ยงสกัดไวรัสโควิด-19 แล้ว โดยนายพินิจ บุญเลิศ ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ได้ออกประกาศจังหวัดปทุมธานี เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 2) เพื่อไม่ให้การแพร่ระบาดของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิต 19 (COVID-19)) ขยายไปในวงกว้าง จึงสั่งปิดสถานที่เป็นการ ชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2563 ถึงวันที่ 12 เมษายน 2563 ดังต่อไปนี้

1.ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ ห้างร้านที่มีร้านค้าย่อยในอาคาร หรือ บริเวณเดียวกัน เว้นแต่ ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายยาหรือสินค้าเบ็ดเตล็ดที่จําเป็นต่อการดารงชีพ ร้านอาหาร (ให้เปิดเฉพาะการจําหน่ายอาหารเพื่อนํากลับไปบริโภคที่อื่น)

2.ห้างสรรพสินค้าหรือสถานที่จําหน่ายวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างขนาดใหญ่

3. ตลาดและตลาดนัด (ยกเว้น ที่เปิดการจําหน่ายอาหารสด อาหารแห้ง อาหารปรุงสําเร็จ เพื่อนํากลับไปบริโภคที่อื่น อาหารสัตว์ ร้านขายยา และสินค้าเบ็ดเตล็ดที่จําเป็นต่อการดํารงชีพ)

4.ร้านอาหาร ร้านเครื่องดื่ม หรือสถานที่จําหน่ายอาหารและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตามกฎหมาย กระทรวงสาธารณสุข ให้เปิดเฉพาะการจําหน่ายอาหารเพื่อนํากลับไปบริโภคที่อื่นและร้านอาหารในโรงแรม ที่ให้บริการเฉพาะผู้ที่พักอาศัยในโรงแรม)

5.พื้นที่นั่งหรือยืนรับประทานอาหารในร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร และซุปเปอร์มาร์เก็ต

6.ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุม และสถานที่จัดนิทรรศการ

7.สถานศึกษาทุกระดับ และสถาบันกวดวิชา

8.สถานบันเทิงและสถานประกอบกิจการโรงมหรสพ (โรงภาพยนตร์ โรงละคร โรงมหรสพ)

9.สถานบริการและสถานประกอบการที่เปิดให้บริการในลักษณะที่คล้ายกับสถานบริการ

10.สวนสนุก สถานที่เล่นโบว์ลิ่ง โต๊ะสนุกเกอร์ บิลเลียด สนามแข่งรถ

11.ร้านเกมส์หรือผู้เกมส์ ร้านอินเทอร์เน็ต และร้านคาราโอเกะ

12.สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ (ร้านสปา ร้านนวดเพื่อสุขภาพ ร้านนวดเพื่อเสริมความงาม สถานประกอบกิจการอาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร เว้นแต่การให้บริการดังกล่าวในสถานพยาบาลตามกฎหมาย ว่าด้วยสถานพยาบาล)

13.สถานประกอบกิจการอาบ อบ นวดและนวดแผนโบราณ เว้นแต่การให้บริการดังกล่าวใน สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล

14.สถานที่ให้บริการควบคุมน้ำหนัก คลินิกความงาม และสถานเสริมความงาม15.ร้านเสริมสวย แต่งผมหรือตัดผม

16.สถานที่บริการสักผิวหนัง หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดขอร่างกาย

17.สถานที่ประกอบกิจการสถานที่ออกกําลังกาย (ฟิตเนส) หรือกิจการอื่น ๆ ในทํานองเดียวกัน

18.สนามมวย ค่ายมวย โรงเรียนสอนมวย สถานที่สอนกีฬาอื่นๆ ในทํานองเดียวกัน

19.สนามกีฬา และสนามยิงปืน

20. สนามม้า

21.สถานที่เล่นสเกต หรือโรลเลอร์เบลด หรือการเล่นอื่น ๆ ในทํานองเดียวกัน

22.สนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ

23.สระว่ายน้ําที่เปิดให้บริการในลักษณะที่ให้บริการเชิงพาณิชย์

24.สถานที่ประกอบกิจกรรมทางศาสนาที่มีคนมารวมตัวกันเป็นจํานวนมาก

25.สถานที่เล่นการพนันขนไก่และกัดปลา และสถานที่ซ้อมขนไก่และกัดปลา

26.ศูนย์พระเครื่อง พระบูชา และสนามพระเครื่อง พระบูชา

27.สถานที่ที่จัดให้มีการพยากรณ์ดวงชะตา

28.สถานที่ให้บริการเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง (สปา อาบน้ำ ตัดขน รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์ )

29.สถานที่ให้บริการบ่อตกกุ้ง บ่อตกปลาอนึ่ง เนื่องจากเป็นกรณีที่มีความจําเป็นเร่งด่วนหากปล่อยให้เป็นข้าไปจะก่อให้เกิดผลเสียหาย อย่างร้ายแรงแก่สาธารณชนหรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ จึงไม่อาจให้คู่กรณีใช้สิทธิโต้แย้ง ตามมาตรา 30 วรรคสอง (2) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจ้า ทั้งปรับ ตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2560 เป็นต้นไปประกาศ ณ วันที่ 21 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2563

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button