คมนาคม

“กรมเจ้าท่า”ปล่อยพันธุ์ปลาท้องถิ่น 40,000 ตัว คืนสู่ธรรมชาติแม่น้ำป่าสัก

นายวิทยา ยาม่วง อธิบดีกรมเจ้าท่า พร้อมด้วยผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่กรมเจ้าท่า หัวหน้าส่วนราชการนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเริงราง ร่วมปล่อยพันธ์ปลาตะเพียนขาว 40,000 ตัว คืนสู่ธรรมชาติ โดยมีประชาชนในพื้นที่ร่วมกันปล่อยพันธุ์ปลาคืนสู่ธรรมชาติ ณ บริเวณริมแม่น้ำป่าสัก ตำบลเริงราง อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี เมื่อวันพุธที่ 20 มกราคม 2564

อธิบดีกรมเจ้าท่า เปิดเผยว่า หลังจากการลงพื้นที่ บูรณาการเร่งแก้ไขปัญหาผักตบชวาบริเวณแม่น้ำป่าสัก ตำบลเริงราง อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ตามที่เป็นข่าวในสื่อสังคมออนไลน์ ระบุ ว่าสระบุรี มหึมา!! ผักตบเต็มลำน้ำป่าสักยาวร่วม 1 กิโลเมตร ชาวบ้านวอนหน่วยงานรัฐเข้าช่วยเหลือ นั้น

กรมเจ้าท่าได้บูรณาการร่วมกับ องค์การบริหารส่วนตำบลเริงราง กรมชลประทาน กรมโยธาธิการและผังเมือง นำเครื่องจักรเข้าดำเนินการจัดเก็บผักตบชวาออกจากแม่น้ำป่าสักอย่างเร่งด่วน จนสามารถดำเนินการเสร็จสิ้นภายใน 3 วัน ได้ปริมาณผักตบชวา 1,800 ตัน ทำให้การสัญจรไปมาของชาวบ้านมีความสะดวก ปลอดภัย และช่วยในการระบายน้ำได้ดียิ่งขึ้น

อธิบดีกรมเจ้าท่า กล่าวต่อว่า กรมเจ้าท่าในฐานะที่มีภารกิจ กำกับ ส่งเสริม พัฒนาการขนส่งทางน้ำ อีกทั้งพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำโดยมีสำนักพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำ 8 แห่ง ภายใต้สังกัดกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม ได้ดำเนินโครงการต่างๆ ทั้งการขุดลอกร่องน้ำและการจัดเก็บผักตบชวาและวัชพืช โดยในปีงบประมาณ 2564 ผลงานถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563 กรมเจ้าท่าสามารถจัดเก็บผักตบชวาได้จำนวน 99,936 โดยมีแผนจัดเก็บผักตบชวาและวัชพืช 422,200 ตัน  ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินเรือ และการสัญจรทางน้ของประชาชน ซึ่งขณะนี้กรมเจ้าท่าได้ดำเนินโครงการต่างๆ ในหลายพื้นที่ และหลังจากเสร็จสิ้นโครงการได้จัดกิจกรรม CSR เพื่อประโยชน์ต่อชุมชนตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา

อธิบดีกรมเจ้าท่า กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมเจ้าท่า ได้จัดกิจกรรมปล่อยพันธุ์ปลาคืนสู่ธรรมชาติ หลังจากจัดเก็บผักตบชวาในแม่น้ำป่าสัก เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ สามารถส่งเสริมรายได้ให้กับแหล่งชุมชน ทั้งนี้ ได้ปล่อยพันธุ์ปลาท้องถิ่น ลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ โดยได้รับการสนับสนุนจากกรมประมง มอบพันธุ์ปลา จำนวน  40,000 ตัว ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์และเป็นแหล่งอาหารของชุมชนที่ยั่งยืนต่อไป

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button