กทพ. เดินหน้ารับฟังความคิดเห็นทางพิเศษสายฉลองรัช-นครนายก-สระบุรี ช่วงจตุโชติ-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 (MR 10)
วันนี้ (22 ก.ค. 65) นายชาตรี ตันศิริ รองผู้ว่าการฝ่ายก่อสร้างและบำรุงรักษา การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้เป็นประธานการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 (การปฐมนิเทศโครงการ) โครงการทางพิเศษสายฉลองรัช-นครนายก-สระบุรี ช่วงจตุโชติ-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 (MR 10) ซึ่งจะเป็นการรวบรวมข้อคิดเห็นข้อห่วงกังวลและข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับโครงการ เพื่อนำมาพิจารณาร่วมในการศึกษาให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ให้มากที่สุดเวลา ณ ห้องประชุมอารียา โรงแรมเอเชียแอร์พอร์ท จังหวัดปทุมธานี
โดยนายชาตรี ตันศิริ ได้เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย และกรมทางหลวง (ทล.) บูรณาการโครงการทางพิเศษสายฉลองรัช-นครนายก-สระบุรี และโครงการถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 (MR 10) เพื่อแก้ไขปัญหาการคมนาคมขนส่งอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพทั้งโครงข่ายทางหลวงและโครงข่ายทางพิเศษ การทางพิเศษฯ จึงได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัท โชติจินดา คอนซัลแตนท์ จำกัด บริษัท อินเด็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บริษัท ไวส โปรเจ็ค คอนซัลติ้ง จำกัด และบริษัท เอ็นไวร์ไซน์ จำกัด ให้ดำเนินงานศึกษาและจัดทำรายงานการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการทางพิเศษสายฉลองรัช-นครนายก-สระบุรี ช่วงจตุโชติ-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 (MR 10) มีระยะเวลาศึกษารวมทั้งสิ้น 12 เดือน โดยเริ่มการศึกษาตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม 2565 แล้วเสร็จใยเดือนพฤษาคม 2566 และได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง ตลอดระยะเวลาที่ดำเนินการศึกษา เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลข่าวสารของโครงการอย่างถูกต้อง ครบถ้วน และได้มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะ ซึ่งโครงการจะได้นำไปพิจารณาประกอบการศึกษาและพัฒนาโครงการให้มีความเหมาะสมและครบถ้วนสมบูรณ์
ทั้งนี้ ขั้นตอนหลังจากนี้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเส้นทางจะได้นำเสนอรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และประชาสัมพันธ์โครงการให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบต่อไป
โครงการทางพิเศษสายฉลองรัช-นครนายก-สระบุรี ช่วงจตุโชติ-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 (MR 10) มูลค่าก่อสร้างประมาณ 2 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2566 เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะทำให้ประชาชนที่เอาศัยอยู่บริเวณย่านฝั่งตะวันออก และจังหวัดใกล้เคียงเดินทางเข้าตัวเมืองได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย
สำหรับแนวเส้นทางเพื่อให้สอดคล้องตามนโยบายของกระทรวงคมนาคมเกี่ยวกับการบูรณาการโคงการร่วมกับแผนพัฒนาโครงข่ายทางพิเศษระหว่างเมืองสระบุรี (MR-Map) จึงได้พิจารณาการเชื่อมต่อโครงข่าย MR-Map ที่อยู่ในพื้นที่ศึกษาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทำให้แนวสายทางโคงการทางพิเศษสายฉลรัช-นครนายก-สระบุรี ช่วงจตุโชติ-วงแหวน รอบนอกกนุงเทพฯ รอบที่ 3 (MR-6) มีการเปลี่ยนแปลง โดยต้องเบี่ยงไปทางทิศตะวันออกเพื่อเชื่อมต่อโครงการ (MR-10) และสามารถเชื่อมต่อโครงการ MR-6 กาญจนบุรี (ด่านพุน้ำร้อน)-สระแก้ว (ด่านอรัญประเทศ) ของกระจุกกระจิก
ดังนั้น จึงมีจุดเริ่มต้นโครงการที่บริเวณทางพิเศษฉลองรัชที่ด่านจตุโชติ ข้ามถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ด้านตะวันออก (ถนนกาญจนาภิเษก) ไปทางทิศตะวันออก ตัดผ่านถนนหทัยราษฏร์ ถนนนิมิตรใหม่ จากนั้นเลี้ยวไปทางทิศตะวันออกตัดผ่านถนนคลองเก้าและเลี้ยวไปทางทิศเหนือผ่านถนนลำลูกกาบริเวณใกล้คลองหกวาสายล่าง และจุดสิ้นสุดเชื่อมต่อแนวสายทางโครงการ MR 10 ระยะทางประมาณ 17 กิโลเมตร ตัดผ่านพื้นที่ 2 จังหวัด 3 เขต 1 อำเภอ 4 แขวง 2 ตำบล ประกอบด้วย แขวงออเงิน เขตสายไหม แขวงสามวาตะวันออก แขวงสามวาตะวันตก เขตปลอดทหาร แขวงคลองสิบ เขตหนองจอก กรุงเทพฯ ตำบลลำลูกกา และตำบลบึงโขงหลง อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
การทางพิเศษฯ มุ่งหวังให้โครงการฯ นี้ ได้มีบทบาทให้เกิดการแก้ไขปัญหาการคมนาคมขนส่งอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพทั้งโครงข่ายทางหลวงและโครงข่ายทางพิเศษ พร้อมทั้งเป็นการพัฒนาโครงข่ายทางพิเศษเพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับคุณภาพชีวิต ดังวิสัยทัศน์ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยที่ว่า องค์กรนวัตกรรม เพื่อการเดินทาง และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น Innovation for Better Drive and Better Life