ผวา”COVID-19″ยอดบริจาคโลหิตวูบ วอนช่วยด่วนหวั่นสต็อกเลือดไม่เพียงพอ
“กาชาดไทย”ประกาศสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน วางมาตรการเข้ม ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ และหน่วยรับบริจาคทุกภาคบริการโลหิตทั่วประเทศ เป็นสถานที่สะอาดปลอดเชื้อไวรัส COVID-19 เผยวิกฤตการณ์ครั้งส่งผลกระทบมีคนบริจาคโลหิตน้อย ไม่เพียงพอ วอนคนไทยต้องช่วยกันด่วน !
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย วอนคนไทยต้องช่วยกันบริจาคโลหิตอย่างเร่งด่วน เพื่อช่วยผู้ป่วยทั่วประเทศ ชี้สถานการณ์การระบาด COVID-19 ส่งผลกระทบผู้บริจาคโลหิตลดลงอย่างต่อเนื่อง จนถึงขณะนี้ได้รับโลหิตไม่ถึงวันละ 1,000 ยูนิต อยู่ในภาวะโลหิตสำรองไม่เพียงพอ พร้อมประกาศเป็นแกนกลางสร้างมาตรการเข้มเป็นสถานที่สะอาดปลอดเชื้อ COVID-19 สร้างความมั่นใจความปลอดภัยทั้งผู้บริจาคโลหิต และการส่งต่อโลหิตที่ปลอดภัยไปยังผู้ป่วยทั่วประเทศ
รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงดุจใจ ชัยวานิชศิริ ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ เปิดเผยว่า จาก สถานการณ์การระบาดของโรคCOVID-19 ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เริ่มส่งผลกระทบกับการบริจาคโลหิตภายในศูนย์บริการ โลหิตแห่งชาติ และหน่วยเคลื่อนที่รับบริจาคโลหิต จากเป้าหมายที่ต้องได้รับโลหิตวันละ 2,000-2,500 ยูนิต ได้รับโลหิต ลดลงเฉลี่ยวันละ 1,400 ยูนิต ต่อเนื่อง 3 วัน อีกทั้งหลายหน่วยงานที่ได้นัดหมายล่วงหน้าในการจัดกิจกรรมบริจาคโลหิต แจ้งยกเลิกจำนวนมาก เนื่องจากมีการเฝ้าระวังการเข้าพื้นที่เพอื่ ป้องกันการแพร่ระบาด ทำให้จานวนการบริจาคโลหิตลดลงต่อเนื่อง จนถึงขณะนี้ไม่ถึงวันละ 1,000 ยูนิต อยู่ในภาวะโลหิตสำรองไม่เพียงพอจ่ายให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศแล้ว หากสถานการณ์เป็นเช่นนี้ต่อไป จะส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้โลหิตในการรักษาอย่างยิ่ง ดังนั้น ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติจึงออกมาตรการสร้างความมั่นใจให้เป็นสถานที่ปลอดภัยจาก COVID-19 ดังนี้
1. ตรวจวัดอุณหภมูิร่างกายผู้ประสงค์บริจาคโลหิตและบุคคลภายนอกที่เข้ามาภายในอาคารหากตรวจอุณหภูมิครั้งแรก เกิน 37.5 °C ให้นั่งพักรอบริเวณสถานที่จัดไว้ประมาณ 10 นาที และจะวัดอุณหภูมิครั้งที่ 2 หากผ่านเกณฑ์ ให้เข้าสู่ ภายในอาคาร หากไม่ผ่านเกณฑ์ จะมีเอกสารคำแนะนาให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคต่อไป รวมทั้งเจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงาน หากไม่ผ่านเกณฑ์ จะให้พบแพทย์เพื่อวินิจฉัย และยืนยันว่าสามารถทำงานได้ตามปกติ หรือให้ลาหยุด
2. ติดตั้งแอลกอฮอลล์เจลทั่วอาคารเช่นบริเวณทางเข้า-ออกอาคารและตามจุดต่างๆเพื่อให้ผู้บริจาคโลหิตทำความ สะอาดมือ และจุดปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่
3. ทำความสะอาดวัสดุอุปกรณ์ด้านการรับบริจาคโลหิตทั้งในสถานที่และหน่วยเคลื่อนที่และวัสดุอุปกรณ์บนรถบริจาค โลหิตเคลื่อนที่ ด้วยน้ายาฆ่าเชื้อ 70% alcohol ซึ่งสามารถทาลายเชื้อไวรัสได้ เช่น เตียงรับบริจาคโลหิต เครื่องชั่ง เขย่าถุงบรรจุโลหิต เครื่องรับบริจาคโลหิตเฉพาะส่วน เครื่องวัดความดัน ลูกบีบบริจาคโลหิต เป็นต้น และ 0.05% Sodium hypochlorite ใช้ทำความสะอาด เครื่องชั่งน้าหนัก และ พื้นทางเดินรถรับบริจาคโลหิต
4. ทำความสะอาดพื้นห้องรับบริจาคโลหิต ห้องปฏิบัติการ ห้องผลิต ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ 0.05% Sodium hypochlorite ในส่วนพื้นห้องสำนักงานให้ใช้น้ำยาทำความสะอาดทั่วไปตามมาตรฐาน
5. ทำความสะอาดบริเวณปฏิบัติงาน โต๊ะเก้าอี้ ปุ่มกดลิฟต์ และจุดสัมผัสร่วมต่างๆ ด้วยน้ายาฆ่าเชื้อ 70% alcohol เช่น โต๊ะลงทะเบียน กรอกประวัติคัดกรองเบื้องต้น ห้องรับบริจาคโลหิต พื้นที่สำหรับผู้บริจาคหลังบริจาคโลหิต ราวบันได ราวบันไดเลื่อน เครื่องบันทึกเวลาเข้า-ออก บัตรจอดรถ เป็นต้น
6. เปลี่ยนผ้าคลุมตัวผู้บริจาคโลหิตผืนใหม่ทุกวัน ผู้บริจาคโลหิตชาย ไม่ต้องใช้ผ้าคลุม ส่วนผู้บริจาคหญิงที่สวมกระโปรงหรือต้องการใช้ผ้า ให้พับครึ่งผ้าและคลุมช่วงตัว ไม่คลุมเท้า
7. การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล สำหรับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านการรับบริจาคโลหิต ห้องปฏิบัติการทดสอบ พื้นที่ผลิต และพื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ สำหรับพนักงานทำความสะอาด ให้สวมใส่ถุงมือตามความเหมาะสมของงานมาตรการดังกล่าวครอบคลุมทั้ง ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ
สภากาชาดไทย ศูนย์รับบริจาคโลหิตและพลาสมา สถานีกาชาด 11 วิเศษนิยม (บางแค) ห้องรับบริจาคโลหิต (fixed station) เดอะมอลล์บางกะปิ เดอะมอลล์งามวงศ์วาน เดอะมอลล์บางแค และหน่วยเคลื่อนที่รับบริจาคโลหิต รวมทั้งภาคบริการโลหิตแห่งชาติ รวม 13 แห่งทั่วประเทศ ได้แก่ ภาคบริการโลหิตแห่งชาติ จังหวัดลพบุรี ชลบุรี ราชบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น อุบลราชธานี นครสวรรค์ พิษณุโลก เชียงใหม่ นครศรีธรรมราช (ทุ่งสง) สงขลา ภูเก็ต และ งานบริการโลหิต สถานีกาชาดหัวหินเฉลิมพระเกียรติ จ.ประจวบคีรีขันธ์
นอกจากนี้ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ได้มีการออกมาตรการป้องกันการถ่ายทอดโรคติดเชื้อ COVID-19 ทาง โลหิต โดยมีแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ เพื่อให้ผู้บริจาคโลหิตคัดกรองตนเองก่อนบริจาคโลหิต ป้องกันความเสี่ยงจาก การได้รับเชื้อจากผู้บริจาคโลหิตไปสู่ผู้ป่วยรับโลหิต ผู้บริจาคโลหิตต้องตอบคำถามเกี่ยวกับสุขภาพตนเอง ตรงตามความ เป็นจริง เช่น หากเป็นผู้ที่อาศัย หรือ เดินทางมาจากประเทศที่มีการระบาดของโรค COVID-19 หรือผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับ ผู้ป่วย ให้งดบริจาคโลหิต 4 สัปดาห์ ส่วนผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าตดิ เชื้อ COVID-19 นับตั้งแต่ตรวจพบเชื้อ และหายป่วยโดย ไม่มีอาการใดหลงเหลืออยู่ให้งดบริจาคโลหิต 3 เดือน เป็นต้น
จึงมีความจำเป็นที่ต้องวอนผู้ที่มีสุขภาพดี หรือผู้ครบกำหนดบริจาคโลหิต 3 เดือนแล้ว ให้เดินทางมาบริจาคโลหิตเร่งด่วน เพื่อช่วยผู้ป่วยทั่วประเทศ บริจาคโลหิตได้ที่ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ศูนย์รับบริจาคโลหิตและพลาสมา สถานีกาชาดที่ 11 วิเศษนิยม บางแค ภาคบริการโลหิตแห่งชาติ และงานบริการโลหิต รวม 13 แห่ง ได้แก่ ภาคบริการโลหิตแห่งชาติ จังหวัด ลพบุรี ชลบุรี ราชบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น อุบลราชธานี นครสวรรค์ พิษณุโลก เชียงใหม่ นครศรีธรรมราช (ทุ่งสง) สงขลา ภูเก็ต และงานบริการโลหิต สถานีกาชาดหัวหินเฉลิมพระเกียรติ จ.ประจวบคีรีขันธ์ และสาขาบริการโลหิตโรงพยาบาล