เทคโนโลยี

AIS Business 5G เผยเทรนด์ดิจิทัลเทคโนโลยีที่องค์กรและธุรกิจต้องใช้ปรับตัวยุคโควิด-19

AIS Business 5G ในฐานะ Your Trusted Smart Digital Partner เผยเทรนด์ดิจิทัลเทคโนโลยีที่ธุรกิจและองค์กรต้องมีเพื่อผ่าวิกฤตท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 หวังช่วยปลดล็อคศักยภาพปรับตัวเพื่อความอยู่รอดขององค์กรและธุรกิจทุกอุตสาหกรรม ชี้ 10 เทรนด์เทคโนโลยีที่ทุกองค์กรและธุรกิจต้องมี เพื่อเร่งปรับตัวและนำมาใช้งานจริง พร้อมทั้งยังได้รับความร่วมมือจากพันธมิตรอย่าง ไมโครซอฟท์ ผู้นำดิจิทัลเทคโนโลยีระดับโลก มาเผยมุมมองที่องค์กรและธุรกิจต้องเร่งดำเนินการปรับตัวเพื่อมองหา New way, New ME เพื่อช่วยผลักดันให้ทุกองค์กรและธุรกิจสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีและปรับใช้ได้อย่างมั่นคง

นายธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหาร กลุ่มลูกค้าองค์กร  AIS Business เปิดเผยว่า จากผลกระทบของโควิด-19 ตั้งแต่ในปี 2020 จนถึงปัจจุบันได้สร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในการเป็นตัวเร่งให้กับทุกองค์กรและธุรกิจก้าวข้ามอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจ สู่การเติบโตอย่างยั่งยืน โดยโควิด-19 มีส่วนอย่างมากในการเร่งให้องค์กรและธุรกิจทุกขนาดมีการปรับตัวอย่างรวดเร็วจากเดิม 18 เท่า เป็น 40 เท่า (จากการสำรวจของ McKinsey & Company) โดยมองหาเครื่องมือที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถเดินต่อได้อย่างไม่สะดุด อาทิ การทำงานแบบ Remote, การทำงานจากที่บ้านหรือ Work From Home เป็นต้น อีกทั้งในวันนี้มีแนวโน้มว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันผู้คนไปอย่างสิ้นเชิง ดังนั้นการทำธุรกิจและการขับเคลื่อนองค์กรในวันนี้คงไม่ได้มีแค่การใช้งานแบบ Online และ Offline แบบ 50:50 อีกต่อไป เพราะในวันนี้เทคโนโลยีได้เข้ามาส่วนช่วยให้การขับเคลื่อนองค์กรและธุรกิจ โดยมี 10 เทคโนโลยีที่ทุกองค์กรต้องให้ความสำคัญและพร้อมนำไปใช้ในทุกกระบวนการ เพื่อสามารถเดินหน้าฝ่าวิกฤตสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 เพื่อก้าวสู่โลกของการทำ Digital Business ได้อย่างสมบูรณ์แบบ โดย 10 เทรนด์เทคโนโลยีที่องค์กรและธุรกิจต้องใช้เพื่อการปรับ ได้แก่

5G : ในฐานะที่ AIS เป็นผู้ 5G เทคโนโลยีมีความครอบคลุมมากถึง 77 จังหวัด ได้เล็งเห็นความสำคัญในการใช้ 5G เพื่อองค์กรกรและธุรกิจโดยเฉพาะในภาคอุสาหกรรมการผลิต เนื่องด้วย 5G เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ไม่ใช่แค่มือถือแต่รวมถึงอุปกรณ์อัจฉริยะทุกชนิดที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ (Internet Of Things) อีกทั้งด้วยความเร็วสูงที่มากกว่า 4G ถึง 20 เท่า และการตอบสนองที่รวดเร็วกว่า จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับทุกวงการอุตสาหกรรม ซึ่งในแง่องค์กรและธุรกิจจะได้ประโยชน์เพราะส่งเสริมธุรกิจให้เชื่อมต่อได้เร็วขึ้น

ธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหาร กลุ่มลูกค้าองค์กร  AIS Business

IoT : เทคโนโลยีที่จะช่วยให้การขับเคลื่อนองค์กรและธุรกิจสามารถดำเนินการต่อไปได้ผ่านการรับส่งข้อมูลและสั่งงานจากที่ต่างๆ โดย AIS ยังคงเดินหน้าคิดค้นนวัตกรรมและโซลูชันใหม่ๆ เพื่อช่วยให้การขับเคลื่อนองค์กรและธุรกิจทุกขนาดสามารถเป็นไปอย่างราบรื่น

Cloud & Edge Computing : เป็นเทคโนโลยีที่ AIS มีการสนับสนุนให้กับทุกองค์กรและธุรกิจในการบริการ ซึ่งคลาวด์จะเป็นตัวช่วยเพิ่มความคล่องตัวให้กับการดำเนินธุรกิจที่ในยุคโควิด-19 ทุกคนทำงานจากที่บ้าน ส่วน Edge ก็จะร่วมกับ 5G ในการทำให้ use cases ที่ต้องการการตอบสนองแบบรวดเร็วเกิดขึ้นได้

Extended Reality : หรือ XR เทคโนโลยีสุดล้ำที่จะเข้ามามีบทบาทกับเรามากขึ้นทุกวัน กับเทคโนโลยีโลกเสมือนที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์สวมใส่ประเภทต่าง ๆ เข้ากับอินเตอร์เน็ตในการเข้าไปสู่โลกอีกใบ XR นั้นเป็นเทคโนโลยีเสมือนจริงที่ผสมผสานหลากหลายมิติเข้าด้วยกันไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อมในโลกจริง สภาพแวดล้อมดิจิทัล รวมถึงการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และเครื่องจักรที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีสวมใส่

AI/Machine Learning : เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่ถูกพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วในทศวรรษที่ผ่านมาจนสามารถนำใช้ในภาคอุตสาหกรรมที่หลากหลายได้อย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นการแพทย์ที่ใช้ในการช่วยวินิจฉัยโรค, การขายออนไลน์เพื่อหยิบเลือกสินค้าหรือบริการให้กับผู้บริโภคได้อย่างตรงใจ หรือแม้กระทั่งการเป็นผู้ช่วยแนะนำการลงทุนให้กับนักลงทุน เป็นต้น

Robotics : ตัวอย่างของ Robotics technology ที่ใกล้ตัวและเห็นได้ชัดที่สุดในปัจจุบัน เช่น หุ่นยนต์ประจำบ้านดูแลผู้สูงอายุ ที่พร้อมจะช่วยเหลือและให้คำแนะนำในการทานยาและช่วยแจ้งเตือนเมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น หรือในปัจจุบันที่มีการพัฒนาเกมส์แข่งขันตั้งแต่ระดับเยาวชนจนถึงมืออาชีพกับการแข่งขันหุ่นยนต์เพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ เช่นด้านการขนส่ง การจัดการสินค้าในโรงงาน ที่ถูกนำไปใช้จริงเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับธุรกิจได้อย่างดี เป็นต้น

Big Data & Analytics : การบรรจบกันของยุคข้อมูลมหาศาลกับ Technology และอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่ผ่านเข้ามาในฐานข้อมูลและหา Insight จากข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ธุรกิจได้  ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ยอดซื้อขาย การวิเคราะห์ความพึงพอใจของลูกค้า หรือการนำข้อมูลมาสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ให้กับธุรกิจได้

Cyber Security : เทคโนโลนีการป้องกันการถูกโจมตีหรือถูกโจรกรรมข้อมูลในภาวะที่ทุกคนทำงานผ่านโลกออนไลน์ซึ่งอาจะเป็นช่องโหว่ให้กับโจรไซเบอร์ในการฉกฉวยโอกาส AIS ให้บริหาร E2E Cyber Security Services โดยแนะนำให้คำปรึกษาในด้านต่างๆ โดยมีการร่วมกับพาร์ทเนอร์ชั้นนำระดับโลก

Robotic Process Automation : หรือ RPA คือการนำระบบอัตโนมัติเข้ามาช่วยธุรกิจโดยเฉพาะในแง่ของงานด้านออฟฟิศที่ใช้มนุษย์ทำซ้ำ ๆ เป็นหลัก ตัวอย่างเช่น การตรวจสอบข้อมูลในระบบ Website เพื่อนำข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหรือสนใจมาป้อนในระบบต่างๆ ของธุรกิจ เช่น การสำรวจข้อมูลทางการตลาด, การรวบรวมข้อมูลราคาสินค้าในตลาด, การอ่านข้อมูล Email เพื่อนำข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับแต่ละธุรกิจไปป้อนลงระบบต่างๆ เช่น Customer Service, CRM และอื่นๆ หรือนำข้อมูลจากในระบบดังกล่าวมาสร้างเป็น Email โต้ตอบลูกค้าโดยอัตโนมัติ, การนำข้อมูลจากระบบต่างๆ ในธุรกิจ เช่น ERP, MRP, CRM, POS มาป้อนใส่ระบบอื่นๆ เพื่อทำการรับส่งข้อมูลระหว่างระบบได้โดยอัตโนมัติอย่างง่ายดาย

Blockchain : การนำ Technology Blockchain มาใช้กับองค์กรที่เป็นที่นิยมในต่างชาติเช่น การจัดเก็บลายเซ็นต์ที่ใช้เป็นลายเซ็นต์สำคัญ, การเก็บฐานข้อมูลลูกค้า, การจัดเก็บเอกสารด้านความปลอดภัยเช่นเรื่องกฏหมาย โฉนดทีดิน และยังรวมถึงการเพื่อจัดเก็บข้อมูลด้านการเงินที่รู้จักกันดี

“สิ่งสำคัญที่ดีที่สุดในการ Digital Transformation คือการมีพันธมิตรที่ดี ในการสร้าง Ecosystem เพื่อเร่งการเปลี่ยนแปลงของการทำงานให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและเป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง ผสมผสานกับความเชี่ยวชาญของเทคโนโลยีซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างมากในการทำ Digital Business เพื่อสร้างธุรกิจให้เกิดความยั่งยืน โดย AIS ได้ร่วมมือกับพันธมิตรชั้นนำทั้งในประเทศและระดับโลกเพื่อสร้างสรรค์และออกแบบนวัตกรรมโซลูชั่นใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์กับองค์กรและธุรกิจในประเทศไทย โดย AIS ถือเป็นพันธมิตรรายแรกของ Microsoft ในประเทศไทยที่ให้ความร่วมมือกันในการอินทิเกรตเทเลคอมโซลูชันกับคลาวด์ระดับโลกของ Microsoft โดยให้บริการ Microsoft Edge Node และ AIS Azure ExpressRoute ทางด้านธุรกิจ นอกจากนี้ยังเป็นพันธมิตรในการเป็น Cloud Service Provider ในกับทาง Microsoft ด้วย” นายธนพงษ์ กล่าว

ธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย)

ด้าน นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ทุกองค์กรและธุรกิจเกิดความยากลำบากและเป็นปัญหาสำหรับทุกคน แต่ในทางกลับกันภายใต้ปัญหานั้นก็นำมาซึ่งโอกาสมากมาย โดยโอกาสในที่นี่จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อต้องคิดใหม่ทำใหม่ หรือ “New way, New ME” แต่ในการคิดใหม่ทำใหม่นั้นอาจจะต้องมานั่งมองหาว่าสิ่งที่อยากจะทำคืออะไร เพราะในขณะที่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังคงอยู่รอบๆ ตัวเรา การขับเคลื่อนและดำเนินธุรกิจยังคงต้องเดินหน้าต่อไป โดยขอแนะนำ 8 สิ่งที่องค์กรและธุรกิจต้องเร่งดำเนินการปรับตัวเพื่อมองหา New way, New ME ดังนี้

AnyWhere Everywhere : การทำงานจากที่บ้าน หรือ Work From Home ในวันนี้เป็นสิ่งที่สำคัญต่อการทำงานของทุกๆ องค์กรและธุรกิจ เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้รูปแบบการทำงานเปลี่ยนแปลงไป แต่สิ่งที่ทุกองค์และธุรกิจต้องมองไกลกว่านั้นคือการปรับตัวให้ในอนาคตทุกการทำงานสามารถเกิดขึ้นโดยทำจากที่ไหนก็ได้ ซึ่งถือเป็นสิ่งหนึ่งที่องค์กรจะต้องสร้างความสามารถให้กับพนักงานในการทำงานจากที่ไหนก็ได้

Shaping and Architecting the “Digital First World” :  Business และ Digital ต้องมาด้วยกัน เนื่องด้วยทุกวันนี้เทคโนโลยีดิจิทัลอยู่ในมือของลูกค้า ซัพพลายเออร์ และพนักงานในองค์กร อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นการใช้ดิจิทัลเพื่อขับเคลื่อนองค์กรถือเป็นแกนสำคัญที่จะช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่น

The Dominant of “Cloud Economy” : ทุกวันนี้คลาวด์เปรียบเสมือนน้ำไฟที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ดังนั้นการขับเคลื่อนองค์กรและธุรกิจหากต้องนั่งรอข้อมูลที่ใช้เวลาในการหาและดำเนินการอาจจะต้องใช้เวลามหาศาล การมีคลาวด์จะช่วยให้การเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ขององค์กรและธุรกิจสามารถทำได้ง่ายขึ้นทุกเวลาที่ต้องการ

New Gen of “Business & Intelligence” : การใช้เทคโนโลยี AI ในการทำธุรกิจถือเป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่ไม่ควรพลาด เพราะทุกวันนี้เทคโนโลยี AI จะช่วยทำให้เรื่องที่ดูยากกลายเป็นง่ายๆ อย่างการทำ AI Chatbot ที่สามารถทำให้การเชื่อมต่อกับลูกค้าของธุรกิจเป็นไปอย่างง่ายดาย รวมถึงการใช้ AI กับการดำเนินธุรกิจในแง่ต่างๆ

“Strategic Economy Partnership” with Purpose : โลกของวันนี้ไม่มีคำว่า it’s ME อีกต่อไปแต่ต้องเป็น It’s We คือ การมีพาร์ทเนอร์ซึ่งจะช่วยสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับธุรกิจได้อย่างมหาศาล

Emerging of “Citizen Developers” : เทคโนโลยีดิจิทัลไม่ได้จำกัดอยู่เพียงคนที่เรียนทางด้านไอที, วิศวกรคอมพิวเตอร์ หรือ โปรแกรมเมอร์เท่านั้น แต่วันนี้เป็นโอกาสของทุกคนที่สามารถเข้าถึงข้อมูลและเรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรม สร้างแอปพลิเคชั่น ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถเข้าถึงและเข้าใจได้ง่ายมากขึ้นจากในอดีต จนสามารถต่อยอดใช้ประโยชน์กับองค์กรและธุรกิจได้

Built in “The Economy of Trust” :  การสร้างความเชื่อให้กับองค์กรและธุรกิจผ่านการใช้เทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อน  โดยเฉพาะการสร้างความน่าเชื่อถือไม่ให้เกิดการโจมตีทางไซเบอร์ เพราะทุกวันนี้ไม่เพียงแค่ลูกค้าหรือพันธมิตรเท่านั้นที่ต้องการความเชื่อถือขององค์กรและธุรกิจ แต่การสร้างความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรและธุรกิจผ่านเทคโนโลยีต่างๆ จะสร้างความเชื่อมมั่นและเป็นจุดสำคัญในการเปิดโอกาสให้หลายๆ หน่วยงานเข้ามาร่วมเป็นพันธมิตร

A call to Action for “Sustainable Development Goal” : หากเราคิดถึงเพียงแค่ผลกำไร/ขาดทุนขององค์กรเพียงอย่างเดียว ในปัจจุบันอาจไม่เพียงพออีกต่อไป องค์กรควรจะต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้มีความยั่งยืน เพื่อช่วยให้ประเทศมีศักยภาพในการพัฒนามากยิ่งขึ้น

“Digital Transformation ไม่ได้ขับเคลื่อนด้วย Technology แต่ขับเคลื่อนด้วย Business เมื่อ Business ไปได้แล้ว Digital technology จึงเข้ามา support ตัวอย่างเช่น Intelligent Cloud และ Intelligent Edge เราลงทุนมากกว่า 200 Data center ทั่วโลก เราต้องการทำให้เป็นเหมือนน้ำ ไฟ ที่ทำให้ทุกคนเข้าถึงได้จริง ๆ ไม่เพียงแต่ Intelligent Cloud เท่านั้น เรายังให้ความสำคัญกับ Intelligent edge ด้วยเช่นกัน ปัจจุบันมีอุปกรณ์ IoT มากมายที่มีอุปกรณ์เซ็นเซอร์ที่สามารถประมวลผลได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องส่งกลับมาที่ระบบ cloud ไม่ว่าจะเป็น Autonomous Cars, Robotics, Smart City ต่างๆ ดังนั้น AIS จึงร่วมกับ Microsoft  ทำตรงนี้เพื่อให้ลูกค้าทุกคนได้รับบริการเหล่านี้เพื่อช่วยเสริมศักยภาพให้ตอบโจทย์ Business ได้”  นายธนวัฒน์ กล่าว

นอกจากนี้ AIS Business ยังได้แนะแนวทางสำหรับธุรกิจทุกขนาดในการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเต็มประสิทธิภาพ พร้อมปรับทิศทางตามโจทย์ใหม่ ให้ก้าวสู่ความสำเร็จในยุคแห่งนวัตกรรม ด้วยส่วนผสมที่ลงตัวระหว่าง บุคลากร กระบวนการ เทคโนโลยี และข้อมูล โดยแนวทางที่แนะนำ คือหลัก 4 รู้ ได้แก่ รู้ตนเอง, รู้ลูกค้า, รู้เทคโนโลยี, รู้ partner ต้องประกอบไปด้วย 4  อย่างนี้เข้าด้วยกัน จึงจะนำไปสู่กระบวนการในการหาทางออกด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้ได้

รู้ตนเอง คือ รู้เป้าหมายที่จะไป หรือรู้ว่าปัญหาที่ประสบอยู่คืออะไร รวมถึงรู้ความสามารถขององค์กรและบุคคลาการว่าจะนำเทคโนโลยีมาใช้ได้เพียงได้

รู้ลูกค้า คือ รู้ว่าลูกค้าต้องการอะไร หรือประสบปัญหาอะไร เราจะไป capture value เหล่านั้นในสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปได้อย่างไร

รู้เทคโนโลยี คือ รู้ว่าเทคโนโลยีจะไปตอบโจทย์จากการรู้ตนเองและรู้ลูกค้าได้อย่างไร เลือกเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้อื่น

รู้ partner คือ รู้ว่า partner รายใดที่น่าจะช่วยนำ technology กับ business expertise มาประกอบกันให้สามารถปฏิบัติได้จริง ซึ่ง partner นั้นต้องไว้ใจได้ เพราะมีประสบการณ์, มีความสามารถ, และมี partners อีกมากมายที่จะร่วมกันทำให้เกิดความสำเร็จ

“AIS Business มุ่งมั่นที่จะเดินสร้างแพลตฟอร์มและเวทีแห่งการแบ่งปันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการรวมตัวกันในแง่ของเทคโนโลยี และความเชี่ยวชาญของหลายๆ ภาคส่วน รวมทั้งภาคการศึกษาและภาคราชการ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่เรามองว่าสิ่งเหล่านี้จะช่วยสร้างมิติและแพลตฟอร์มใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นมาในการสนับสนุนธุรกิจในประเทศไทยและทำให้ประเทศไทยก้าวสู่ industy 4.0 แบบเต็มรูปแบบ” นายธนพงษ์ กล่าวทิ้งท้าย

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button