การเกษตร

“อลงกรณ์” เผยพร้อมตั้งสภาเกษตรอินทรีย์พีจีเอส. เป็นครั้งแรกในไทย

อีกหนึ่งผลงาน ”5 ยุทธศาสคร์เฉลิมชัย” โดย “อลงกรณ์” เผยพร้อมตั้งสภาเกษตรอินทรีย์พีจีเอส. เป็นครั้งแรกในประเทศไทย พร้อมสร้างระบบบิ๊กดาต้าออร์กานิค (Organic Big Data ล่าสุดขยายพื้นที่เกษตรอินทรีย์เกือบ 4 แสนไร่ พร้อมเดินหน้าเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง (Urban Farming) จัดตั้งกลไกขับเคลื่อนทั่วประเทศแล้ว

วันนี้ (27 พ.ค.64) นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน เปิดเผยถึงผลการประชุม ครั้งที่ 3/2564 ผ่านระบบ ZOOM โดยมี นายวิชัย ไตรสุรัตน์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงฯ นายมนัส กำเนิดมณี ผู้ตรวจราชการกระทรวงฯ นายธีระ วงษ์เจริญ ประธานอนุกรรมการเกษตรทฤษฎีใหม่และเกษตรผสมผสาน ผู้แทนสภาเกษตรกรแห่งชาติ นายปริญญา พรศิริชัยวัฒนา ประธานอนุกรรมการเกษตรอินทรีย์ ประธานชมรมเกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทย คณะอนุกรรมการวนเกษตรและเกษตรธรรมชาติตัวแทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชน และภาคเกษตรกร ร่วมหารือในประเด็นสำคัญ ในการติดตามความก้าวหน้าการขับเคลื่อน โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง การดำเนินงานของคณะทำงานด้านเกษตรอินทรีย์ ด้านวนเกษตรและเกษตรธรรมชาติ และด้านเกษตรทฤษฎีใหม่และเกษตรผสมผสาน เพื่อการพัฒนาภาคการเกษตรไทยตาม “5 ยุทธศาสตร์เฉลิมชัย” ของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ (ประธานคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน) ตามแนวทางศาสตร์พระราชา สรุปผลการประชุมเฉพาะวาระสำคัญได้ดังนี้

1.โครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง (Sustainable Urban Agriculture Development Project) มีเป้าประสงค์ในการพัฒนาเกษตรกรรมและเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองพร้อมกับการพัฒนาการเกษตรในเมือง (Urban Farming) ภายใต้นโยบายการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ประการของสหประชาชาติเพื่อโลกอนาคต (UN Sustainable Development Goals : 17 aspects for future world) ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายที่ 11 การพัฒนาเมืองและชุมชนอย่างยั่งยืน (Sustainable cities and communities: Make cities inclusive, safe, resilient and sustainable) ซึ่งในปี 2562 ประเทศไทยมีประชากรในเมืองมากกว่าในชนบทเป็นครั้งแรกตามปรากฏการณ์การขยายตัวของเมือง (Urbanization) ซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อภาวะความไม่มั่นคงทางอาหารยิ่งขึ้นโดยอาศัยหน่วยงานภาครัฐ เอกชน เกษตรกร และภาคประชาชน ร่วมบูรณาการขับเคลื่อนพร้อมกัน เพื่อการพัฒนาและเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมืองให้เกิดประสิทธิภาพและเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั่วประเทศ ทั้งในระดับเขต ระดับจังหวัด เขตปกครองท้องถิ่น พื้นที่อยู่อาศัย สถานที่สำคัญต่างๆ ให้เป็นแหล่งผลิตอาหารสร้างความมั่นคงทางอาหารในเมืองและเพิ่มพื้นที่สีเขียวโดยพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ เช่น มีการจัดทำ QR code ให้ความรู้เกี่ยวกับชนิดของพืช และสมุนไพร รวมทั้งการใช้ประโยชน์ โดยจัดตั้งกลไกการขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง ดังนี้

1) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง ระดับเขต ตามการแบ่งเขตตรวจราชการของกระทรวงฯ
2) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง ระดับจังหวัด
3) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
4) คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองในพื้นที่วัด (Green Temple)
5) คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองในพื้นที่วิทยาลัย (Green College)
6) คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองในพื้นที่โรงเรียน (Green School)
7) คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองในพื้นที่มหาวิทยาลัย (Green Campus
8) คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองในพื้นที่การเคหะแห่งชาติ
9) คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองระดับชุมชนและท้องถิ่น (Green Community)
10) คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในพื้นที่อาคารชุด (Green Condo)

2.การจัดตั้งสถาบันเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณาของสำนักพัฒนาระบบบริหาร ก่อนการดำเนินการต่อไป

3.การจัดทำระบบฐานข้อมูลกลางเกษตรอินทรีย์ (Organic Big Data Center)โดยสามารถเข้าชมได้ที่ https://organicmoac.ldd.go.th ข้อมูลปัจจุบัน ณ วันที่ 25 พฤษภาคม 2564มีพื้นที่เกษตรอินทรีย์ในฐานข้อมูลออนไลน์ รวมทั้งสิ้น 397,037.24 ไร่

 

4.ความก้าวหน้าการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารสภาเกษตรอินทรีย์ พี จี เอส แห่งประเทศไทย ขณะนี้พร้อมดำเนินการจัดตั้งโดยมี องค์ประกอบและอํานําจหน้าที่ ประกอบด้วย ประธานกรรมการ 1 คน กรรมการและ เลขานุการ 1 คน โดยการคัดเลือกจากคณะกรรมการบริหารสภาฯ และกรรมการ จํานวน 20 คน แบ่งเป็น ผู้แทนองค์กรจัดระบบ (3 แห่ง) เกษตรกรเกษตรอินทรีย์ PGS 4 ภําค (8 คน), ผู้แทนสถาบันการศึกษา(4 แห่ง), ผู้ประกอบการด้านการผลิตเกษตรอินทรีย์ และจําหน่ายเกษตรอินทรีย์ PGS 4 แห่ง, เกษตรกรรุ่นใหม่ประเทศไทย (1 คน), สมาคม ผู้บริโภคอินทรีย์ไทย 1 แห่ง และผู้แทนภาครัฐ (1 แห่ง) โดยมีอํานาจหน้าที่หลัก ได้แก่ การกําหนดกรอบเกษตรอินทรีย์ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม จัดระบบการกํากับดูแล และติดตาม การเทียบเคียง การยอมรับกระบวนการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วน ร่วม รวมทั้งสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ จัดทําฐานข้อมูลเกษตรอินทรีย์ระบบการรับรอง แบบมีส่วนร่วม

5.ความก้าวหน้าโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ ขณะนี้มีผลดำเนินโครงการไปแล้ว โดยมีเป้าหมาย 4009 ตำบล 648 อำเภอ 75 จังหวัด จำนวนเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 29,706 ราย และมีจ้างงานจำนวน 14,076 ราย
5.คู่มือสำหรับประชาชนในการปฏิบัติตามข้อตกลงบันทึกความเข้าใจการส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยที่ประชุมมอบหมายให้จัดทำคู่มือสำหรับประชาชนในเรื่องการส่งเสริมไม้เศรษฐกิจเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่

6.นิยามใหม่ “วนเกษตร” ซึ่งผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการบริการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนแล้วจะทำให้การพัฒนาวนเกษตรขยายตัวเพิ่มขึ้นหลังจากติดกรอบนิยามเดิมมาเป็นเวลานานหลายปี

7. เรื่องกํารจัดตั้งสถาบันเกษตรอินทรีย์แห่งชําติ (องค์การมหาชน) มีความคืบหน้าหลังจากคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืนเห็นชอบในหลักการเมื่อวันที่ 13 พ.ค. ที่ผ่านมา ขณะนี้ปลัดกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ ได้มอบให้สํานักพัฒนาระบบบริหาร สํานักงาน ปลัดกระทรวงเกษตรพิจารณาดำเนินการต่อไปแล้ว

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button