การเมือง

ผู้เชี่ยวชาญงาน UBBF 2021 เผยเทรนด์โครงสร้างพื้นฐานด้านเครือข่าย เร่งการพัฒนาของภาคอุตสาหกรรม

การประชุม Ultra-Broadband Forum  2021 (หรือ UBBF 2021) ซึ่งเป็นการประชุมในหัวข้อเกี่ยวกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงครั้งที่ ได้เริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการแล้วที่ดูไบ โดยมีคณะกรรมาธิการ UN Broadband Commission และหัวเว่ยร่วมเป็นเจ้าภาพ การประชุมดังกล่าวถือเป็นงานที่เกี่ยวกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตประจำที่ซึ่งใหญ่ที่สุดในโลกนี้ จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “ขยายการเชื่อมต่อที่ครอบคลุม ขับเคลื่อนสู่การเติบโต (Extend Connectivity, Drive Growth)” โดยภายในงานมีผู้ให้บริการชั้นนำระดับโลกรวมถึงผู้ให้บริการด้านอุปกรณ์ร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดในหลากหลายหัวข้อ ไม่ว่าจะเป็น การสร้างโครงสร้างพื้นฐานของเครือข่าย ระบบเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาค กรณีศึกษาจากความสำเร็จของการนำแอปพลิเคชันต่างๆ ไปใช้งาน รวมถึงการขยายตัวของอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ยังมีการแบ่งปันแนวปฏิบัติ และความร่วมมือทางธุรกิจในเชิงลึกที่มากยิ่งขึ้นในอนาคต

งาน UBBF ปีนี้จัดขึ้นเป็นเวลา 2 วัน ประกอบด้วยการปาฐกถาและการบรรยายเกี่ยวกับเครือข่ายประจำหลากหลายหัวข้อ โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากทั้งภาครัฐ หน่วยงานต่าง ๆ ผู้ให้บริการเครือข่าย รวมถึงตัวแทนจากภาคการศึกษาร่วมพูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดในเรื่องของสถานะปัจจุบันในการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงมาก (ultra-broadband network) รวมทั้งความท้าทายใหม่ๆ ที่กำลังเผชิญ และร่วมกันแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกรวมถึงกรณีศึกษาต่างๆ

ทั้งนี้ สังคมทั่วโลกได้นิยามถึงมูลค่าที่เกิดจากการเชื่อมต่อขึ้นมาใหม่ และการพัฒนาของภาคอุตสาหกรรมก็กำลังจะเกิดขึ้นตามมา โดยนายเผิง ซง ประธานฝ่ายการตลาดและโซลูชันสำหรับลูกค้าโครงข่ายสากล จากหัวเว่ย ได้ขยายความถึงโมเดล C.A.F (Coverage หรือความครอบคลุม Architecture หรือโครงสร้างสถาปัตยกรรม และ Fusion หรือการผสมผสาน) จากหัวเว่ย โดยกล่าวถึงความสำคัญของการขยายความครอบคลุมของการเชื่อมต่อทั้งในบ้านและหน่วยงานต่าง ๆ รวมถึงต้องทำงานร่วมกับคลาวด์ได้ เพื่อให้ “สามารถตอบสนองความต้องการทั้งในปัจจุบันและในอนาคต” ซึ่งการสร้างความสามารถในการแข่งขันจากการเชื่อมต่อด้วยโมเดล C.A.F นั้นถือเป็นกุญแจสำคัญของการสร้างการเติบโตใหม่ ๆ

  • ความครอบคลุม: การเชื่อมต่อที่ขยายไปในทุกๆ ห้องจะเพิ่มมูลค่าของอินเทอร์เน็ตบ้านได้อย่างยิ่งยวด เพราะความต้องการใช้งานที่เปลี่ยนไปจากทั้งผู้ใช้งานตามบ้านและองค์กร ส่งผลให้ผู้ให้บริการจำเป็นต้องขยายการเชื่อมต่อไปทุกๆ ห้อง ทุกอุปกรณ์ และสามารถใช้งานได้กับทุกระบบของธุรกิจ และเปลี่ยนจากการเชื่อมต่อแบบส่วนตัว (private line) ไปเป็นเครือข่ายแบบส่วนตัว (private network) ให้ได้ เพื่อรองรับการครอบคลุมที่กว้างขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้มีการเชื่อมต่อเพิ่มขึ้นและนำมาซึ่งโอกาสทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
  • โครงสร้างสถาปัตยกรรมสถาปัตยกรรมเครือข่ายถือเป็นเสาหลักของความสำเร็จทางธุรกิจ ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต สถาปัตยกรรมสำหรับอนาคตจำเป็นจะต้องมีเครือข่ายที่ยืดหยุ่น ให้บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า และมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (OPEX) ที่ต่ำกว่าเดิม
  • การผสมผสานการเชื่อมต่อจะนำมาซึ่งโอกาสใหม่ๆ มากมาย การสร้างศักยภาพในการแข่งขันของเครือข่ายโดยใช้โมเดล C.A.F นั้นเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ให้บริการเครือข่าย การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลนั้นเป็นโอกาสที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอุตสาหกรรมไอซีที และปฏิเสธไม่ได้ว่าคลาวด์เป็นหัวใจสำคัญของการเปลี่ยนผ่านเชิงดิจิทัล แต่การเชื่อมต่อก็ยังคงมีบทบาทสำคัญ เพราะหากปราศจากการเชื่อมต่อ “คลาวด์จะเป็นเพียงแค่เกาะของข้อมูลที่ตั้งอยู่เฉยๆ”  นายเผ่ง กล่าวว่า “การผสมผสาน” เป็นสิ่งสำคัญเพราะว่าการเชื่อมต่อต้องให้ความสำคัญกับคลาวด์ และช่วยให้องค์กรย้ายการใช้งานไปยังคลาวด์ได้

นายเควิน หู ประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์การสื่อสารข้อมูลของหัวเว่ย อธิบายว่าการเปลี่ยนผ่านเชิงดิจิทัลนั้น แม้ว่าจะเพิ่มความสะดวกสบาย แต่ก็นำมาซึ่งความท้าทายให้กับเครือข่ายที่มีอยู่เดิมด้วย เช่น ในปัจจุบันห้องอุปกรณ์ CO นั้นมีขนาดที่จำกัด ดังนั้นจึงเป็นการยากที่การที่ตัวส่งสัญญาณที่ใช้อยู่ในปัจจุบันจะสามารถให้บริการได้อย่างครอบคลุมเต็มรูปแบบ

การทำงานของบริการแบบไฮบริดในปัจจุบันไม่ได้ออกแบบมาเพื่อรับมือกับความต้องการบริการที่ต่างกันออกไปหลายรูปแบบ ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ปัญหาของความท้าทายของเครือข่ายที่ลูกค้าพบในช่วงของการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลนี้ หัวเว่ยจึงเปิดตัว Intelligent Cloud-Network Solution ซึ่งเป็นโซลูชันที่มาพร้อมกับความสามารถใหม่ 4 ประการ ได้แก่ all-service super edge CO, tenant-level hard slicing, SRv6-powered network programmability และ cloud-network integration โซลูชันนี้จะช่วยเพิ่มมูลค่าสูงสุดให้กับทรัพยากรที่ผู้ให้บริการเครือข่ายมีอยู่แล้ว และเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับคลาวด์และเครือข่ายโดยรวม

ภายในงาน นายเควิน หู ยังได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์เราท์เตอร์อัจฉริยะตระกูล NetEngine ที่ออกแบบมาสำหรับการใช้งานในทุกสถานการณ์ และเพื่อช่วยให้ผู้ให้บริการสร้างเครือข่ายคลาวด์อัจฉริยะได้ในยุคดิจิทัลนี้ ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่ NetEngine A800 series, NetEngine 8000 M series และ NetEngine 8000 X16

ปัจจุบัน ผู้ให้บริการทั่วโลกกำลังเดินหน้าลงทุนในระบบไฟเบอร์ออฟติคัล เพื่อเพิ่มคุณภาพอินเตอร์เน็ตและพัฒนาการบริการ เช่น FTTR และการเชื่อมต่อส่วนตัวแบบพรีเมียมผ่าน OTN เพื่อเพิ่มรายได้จากเครือข่ายประจำที่ และเครือข่ายที่ใช้เทคโนโลยีออฟติคัลทั้งหมดนั้นกำลังกลายเป็นแนวทางที่ทั้งอุตสาหกรรมกำลังมุ่งใช้ไปในทางเดียวกัน เพราะเป็นพื้นฐานของเมืองอัจฉริยะที่รักษาสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม การสร้างเครือข่ายที่ใช้เทคโนโลยีออฟติคัลทั้งหมดสำหรับเมืองอัจฉริยะนั้นมีความยากลำบาก ทั้งจากเรื่องราคาที่สูง การเตรียมการบริการที่นานกว่า  และการบริหารจัดการที่ซับซ้อน นอกจากนี้ การเปิดรับอุปกรณ์ในฝั่งผู้ใช้งาน นวัตกรรมด้านเครือข่าย และการพัฒนาบริการใหม่ๆ ก็ยังเป็นประเด็นที่น่ากังวลเช่นกัน

นอกจากนี้ นายบิล หวัง รองประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์ออฟติคัลของหัวเว่ย ยังได้กล่าวว่า “หัวเว่ยเปิดตัวผลิตภัณฑ์กลุ่ม Digital QuickODN (DQ ODN) และ Edge OTN เพื่อรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ โดยผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยผู้ให้บริการสร้างเครือข่ายที่ใช้เทคโนโลยีออฟติคัลทั้งหมดได้อย่างรวดเร็ว และสามารถมองเห็นภาพรวมรวมทั้งจัดการเครือข่ายได้ทั้งกระบวนการตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนด้านการดำเนินงานและซ่อมบำรุง (O&M) ลงได้เป็นอย่างมาก และทำให้อุตสาหกรรมต่างๆ รวมถึงผู้ใช้งานตามบ้านสามารถเข้าสู่โลกดิจิทัลได้รวดเร็ว ทั้งยังช่วยให้ผู้ให้บริการเครือข่ายสามารถขยายตลาดลูกค้าองค์กรธุรกิจ พัฒนาประสบการณ์การใช้งานอินเตอร์เน็ตบ้าน ลดต้นทุน และเพิ่มรายได้อีกด้วย

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button