“ไชยา” แนะรัฐใช้หม้อแปลงซับเมอร์ส Low Carbon ยก กทม.เมืองท่องเที่ยวระดับโลก
“ไชยา พรหมา” ประธานคณะกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ เยี่ยมชม หม้อแปลง Submersible Transformer Low Carbon หม้อแปลงไฟฟ้า แก้ไขทัศนียภาพสวยงาม สร้างความมั่นคง ปลอดภัย และช่วยลดพลังงาน ค่าไฟ/ลดคาร์บอน 5-20% พร้อมทั้งดูแลบำรุงรักษาง่าย เหมาะสำหรับผู้ประกอบการที่มีพื้นที่จำกัด และประหยัดพลังงาน เพราะหม้อแปลงชนิดนี้ติดตั้งใต้ดิน คุ้มทุนตั้งแต่ตัดสินใจเปลี่ยนหม้อแปลง ด้าน “ชัยยันต์” ประธานคณะอนุกรรมาธิการปรับโครงสร้างราคาไฟฟ้า หนุนหม้อแปลงนวัตกรรมไทย สร้างทางเลือกพัฒนาระบบสาธารณูปโภคในเขตเมือง ช่วยแก้ปัญหาหม้อแปลงไฟฟ้ากีดขวางทางเท้า และแก้ปัญหาไฟไหม้ สร้างทัศนีย์ภาพใหม่ให้สวยงาม และประหยัดพลังงาน”
นายไชยา พรหมา ประธานคณะกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า ทางกรรมาธิการ ยังได้รับคำร้องเรียนโครงการสายใต้ดินจากประชาชน เกี่ยวกับหม้อแปลงที่ยังได้รับการติดตั้งบนเสาอยู่ ฉะนั้น ภาครัฐควรสนับสนุนส่งเสริมสินค้านวัตกรรมหม้อแปลงไฟฟ้า Submersible Transformer Low Carbon ตอบโจทย์และจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศเกี่ยวกับการนำสายไฟฟ้าลงดิน เนื่องจากตอนนี้ กรุงเทพมหานครและเมืองต่างๆ มีปัญหาสายไฟฟ้าที่ยังไม่ลงดินทำให้สายไฟบดบังหน้าร้าน บดบังที่ดินของชาวบ้าน และอีกทั้งยังทำให้เกิดเพลิงไหม้ ทำให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนเป็นจำนวนมาก
ทั้งนี้ อยากให้ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยนำหม้อแปลงไฟฟ้าลงใต้ดินเพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาลให้เป็นเมืองทันสมัยไร้สาย ด้วยการนำสายไฟฟ้าและหม้อแปลงลงดินทั้งระบบ เพื่อความปลอดภัยให้กับประชาชนทั้งชาวไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่เข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่แห่งนี้พร้อมทั้งยกระดับเมืองให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลกได้
“หม้อแปลงซับเมอร์ส Low Carbon นอกจากจะสร้างมั่นคงและความปลอดภัยให้กับพี่น้องประชาชนแล้ว หม้อแปลงซับเมอร์สยังช่วยแก้ไขทัศนียภาพของเมืองให้สวยงาม ทั้งยังช่วยลดพลังงานค่าไฟ/ลดคาร์บอนได้ 5-20% พร้อมทั้งดูแลบำรุงรักษาง่าย มีความเหมาะสมกับผู้ประกอบการที่มีพื้นที่จำกัด ต้องการลดต้นทุนค่าไฟ เพราะหม้อแปลงชนิดนี้ทำการติดตั้งใต้ดิน คุ้มทุนตั้งแต่ตัดสินใจเปลี่ยนใช้หม้อแปลงนวัตกรรมไทยแล้ว”
นายชัยยันต์ ผลสุวรรณ์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการปรับโครงสร้างราคาไฟฟ้า เปิดเผยว่า หม้อแปลงไฟฟ้า Submersible Transformer Low Carbon คณะอนุกรรมาธิการฯ ให้การสนับสนุน นวัตกรรมของไทยอย่างเต็มที่ หม้อแปลงไฟฟ้าชนิดนี้ เป็นหม้อแปลงที่มีความเหมาะสมกับเมืองใหญ่ๆ ที่ต้องการนำสายไฟลงดินทั้งระบบ อย่างกรุงเทพฯ เป็นที่สุด ที่เป็นทางเลือกในการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคในเขตเมือง ที่มีพื้นที่จำกัด ช่วยแก้ปัญหาหม้อแปลงกีดขวางทางเท้า และแก้ปัญหาไฟไหม้ที่เกิดจาก หม้อแปลงหรือสายไฟที่เดินลอยบนอากาศ ทั้งยังสร้างทัศนีย์ภาพที่สวยงามให้แก่เมือง
หม้อแปลงไฟฟ้า Submersible Transformer Low Carbon เป็นหม้อแปลงไฟฟ้าช่วยลดพลังงาน ค่าไฟฟ้า และลดคาร์บอน เหมาะแก่ผู้ประกอบการที่ต้องการลดต้นทุนการใช้พลังงานไฟฟ้า ที่เป็นภาระหลักการดำเนินธุรกิจขณะนี้ ซึ่งมีผลต่อกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทางออกที่ดีที่สุดคือการลงทุนใช้หม้อแปลงไฟฟ้า Submersible Transformer Low Carbon เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่าย และเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ผู้ประกอบการควรให้ความสนใจเลือกใช้ในขณะนี้ ทั้งยังสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ปลอดภัย และประหยัดพลังงาน (IoT) อีกด้วย