“อลงกรณ์” ยิ้มร่า 62 จังหวัดเดินหน้าพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองคืบหน้ากว่า 500 โครงการ
“อลงกรณ์” พอใจ 62 จังหวัดเดินหน้าพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองคืบหน้ากว่า 500 โครงการ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ควบคู่กับการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในชนบท 7,255 ตำบลทั่วประเทศ
วันนี้ (20 ต.ค. 65) ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองเป็นประธานการประชุมติดตามผลการดำเนินงานผ่านระบบทางไกลออนไลน์ ZOOM Cloud Meeting โดยมี นายกษิดิ์เดชธนทัต เสกขุนทด ประธานคณะทำงานขับเคลื่อนฯ ระดับชุมชนและท้องถิ่น (Green Community) นายณฐกร สุวรรณธาดา คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายนำชัย แสนสุภา นายกสมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนการเคหะแห่งชาติ พร้อมทั้งหน่วยงานทั้งภาคราชการ ภาคสถาบันการศึกษา ภาคเอกชน และส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และมี นายจิตติศักดิ์ ศรีปัญญา ผู้อำนวยการกองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน เป็นเลขานุการการประชุม
โดยที่ประชุมรับทราบรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองระดับจังหวัด ซึ่งได้มีการขับเคลื่อนโครงการในพื้นที่เป้าหมายเพื่อดำเนินการ โดย ณ วันที่ 25 ก.ย. 2565 มีจำนวน 591 แห่ง ใน 62 จังหวัดประกอบด้วย (1) พื้นที่วัด จำนวน ๑๙ แห่ง (2) พื้นที่โรงเรียน สถานศึกษาและมหาวิทยาลัย จำนวน 372 แห่ง (3) พื้นที่โรงพยาบาล จำนวน 13 แห่ง (4) พื้นที่ชุมชน จำนวน 90 แห่ง และ (5) พื้นที่อื่น ๆ ได้แก่ พื้นที่ของหน่วยงานราชการและพื้นที่เอกชน จำนวน 97 แห่ง
นายอลงกรณ์ได้แสดงความพอใจต่อความก้าวหน้าของโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองระดับจังหวัดโดยยกตัวอย่างรายงานการดำเนินงานของสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งได้นำเสนอผลงานการขับเคลื่อนโครงการต่อที่ประชุม ดังนี้
1. โครงการมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green Campus) มีแปลงปฏิบัติการวิจัยพืชสวน พืชไร่ ไม้ดอกไม้ประดับ และสิ่งแวดล้อม รวม 74 ไร่ และฐานการเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อเป็น “แหล่งเรียนรู้ สร้างรายได้เสริม พัฒนาอาชีพอย่างยั่งยืน”
2.โครงการโรงเรียนสีเขียว (Green School) “เก่ง ดี มีทักษะ (ทักษะอาชีพและทักษะชีวิต) มีสุขภาพดี” โดยฝึกการทำปุ๋ยชีวภาพเพื่อการเกษตรกรรมสาหรับการปลูกผักปลอดสารพิษ การปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์ น้ำนิ่ง หรือการปลูกพืชแบบไร้ดิน เป็นการปลูกพืชในสารละลายธาตุอาหารพืช การเลี้ยงปลาดุก และกบในวงบ่อ รวมถึงการเลี้ยงไก่ไข่ ซึ่งผลผลิตที่ได้ทั้งในส่วนของพืชผัก ปลาดุก กบและไข่ไก่นำมาใช้ในโครงการอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนในโรงเรียน และนำส่วนที่เหลือจำหน่าย เป็นการสร้างรายได้ให้กับนักเรียนและเป็นการสร้างนิสัยในการออมทรัพย์โดยฝากไว้กับธนาคารของโรงเรียน ซึ่งเป็นกิจกรรมสร้างทักษะอาชีพแก่นักเรียนที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งและเป็นแบบอย่างให้กับโรงเรียนที่สนใจได้มาเรียนรู้
3. โครงการวัดสีเขียว (Green Temple) “วัด วนเกษตร สวนสมุนไพรในเมือง” สวนพฤกษศาสตร์สมุนไพรวัดคุ้งตะเภา หรือ ศูนย์ศึกษาสมุนไพรในวัดประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นสวนพฤกษศาสตร์ชุมชนขนาดเล็ก เป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาชาวบ้านในด้านการ อนุรักษ์สมุนไพร
4.โครงการโรงพยาบาลสีเขียว (Green Hospital) “สุขภาพและความสุขอย่างยั่งยืน” โดยให้บุคลากรทางการแพทย์หันมาทาการเกษตรปลูกพืชผักปลอดภัย–อินทรีย์ ส่งให้โรงครัวและจาหน่ายให้แก่ผู้ที่มาใช้บริการในโรงพยาบาล เพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร และสุขภาพที่ดีของครอบครัว อีกทั้งความก้าวหน้าผลการดำเนินงานฯ ของจังหวัดชลบุรี จังหวัดระนอง และจังหวัดนครศรีธรรมราช และความก้าวหน้าของคณะทำงานฯ ในพื้นที่การเคหะแห่งชาติ (Green National Housing Authority)
รวมทั้งยังรับทราบความก้าวหน้าผลการดำเนินงานฯ ของจังหวัดชลบุรี ที่มีการดำเนินกิจกรรมรวมพลังคนชลบุรี ปลูกป่า ทาโป่ง “เหนื่อยนี้เพื่อช้าง…เพื่อคนชลบุรี” ปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ, โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ภายใต้กิจกรรมฝึกอาชีพ “เพาะพันธุ์ไม้พื้นถิ่น สร้างอาชีพ สร้างรายได้”, กิจกรรมการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมืองโครงการขยายผลจิตอาสาสานักงาน กศน. ฯลฯ
ผลการดำเนินงานของจังหวัดระนอง มีการดำเนินการโครงการเพิ่มพื้นที่สีเขียวภายในวัด, โครงการปลูกป่าเพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูป่าต้นน้า ป่าชายเลนและป้องกันไฟป่า จังหวัดระนอง, โครงการส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจในพื้นที่ปลูกไม้ยางพารา และพื้นที่เกษตรกรรมจังหวัดระนอง, กิจกรรมวันต้นไม้ประจำปีของชาติ พ.ศ. 2565 ฯลฯ
ผลการดำเนินงานของจังหวัดนครศรีธรรมราช มีการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการปลูกดาวเรือง กิจกรรมปลูกไม้ยืนต้นเพิ่มพื้นที่สีเขียว บริเวณริมเขื่อนคลองฆ่าสัตว์ ฯลฯ
และความก้าวหน้าของคณะทำงานพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในพื้นที่โรงเรียนและวิทยาลัยซึ่งดำเนินการโรงเรียนสีเขียวต้นแบบเสร็จแล้วกำลังขยายผลไปทุกภาคและรายงานของคณะกรรมการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในพื้นที่การเคหะแห่งชาติ (Green National Housing Authority) ซึ่งมีการบูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่าย เข่นการรับมอบเมล็ดพันธุ์ปันสุขจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่งมอบให้กับชุมชนทำโครงการนำร่องและขยายผลไปยังชุมชนอื่น ๆ ตลอดจนร่วมมือกับบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด ในการดำเนินโครงการ เซลล็อกซ์ “ปลูกต้นไม้ใหญ่ให้บ้านเรา” เป็นการเพิ่มต้นไม้ใหญ่ ในชุมชน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในโครงการบ้านเอื้ออาทรบางโฉลง ส่วนกรมพัฒนาฝีมือแรงงานกระทรวงแรงงาน ดำเนินการติดตั้ง Smart Farming ในโครงการบ้านเอื้ออาทรเมืองใหม่บางพลี, มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีช่วยออกแบบและปรับปรุงพื้นที่แปลงเกษตร ในโครงการบ้านเอื้ออาทรรังสิตคลอง 10/2 และเทศบาลเมืองใหม่บางบัวทองในการปรับสภาพภูมิทัศน์ภายในชุมชน ในโครงการบ้านเอื้ออาทรบางบัวทอง 2
โดยนายอลงกรณ์ ได้เน้นย้ำความสำคัญของการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองเพราะทุกเมืองทั่วโลกขาดความมั่นคงทางอาหารและมีแต่ป่าคอนกรีตจึงต้องเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้นลดภาวะโลกร้อนและส่งเสริมเกษตรกรรมในเมืองเพื่อลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ครัวเรือนยกระดับคุณภาพชีวิตประขาชนและคุณภาพของเมืองและชุมชนควบคู่กับการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในชนบทซึ่งได้ตั้งคณะกรรมการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบล 7,250ตำบลไปแล้วทุกจังหวัด เป็นการส่งเสริมทั้ง3สาขาเกษตรคือพืช ประมงและปศุสัตว์ตามศักยภาพและอัตลักษณ์ของแต่ละตำบลแต่ละชุมชนภายใต้ 5 ยุทธศาสตร์ของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีเกษตรฯ ได้แก่ ตลาดนำการผลิต เทคโนโลยีเกษตร 4.0 เกษตรปลอดภัย เกษตรยั่งยืน เกษตรมั่นคง การบูรณาการทำงานเชิงรุกทุกภาคส่วน และเกษตรกรรมยั่งยืนบนฐานศาสตร์พระราชาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วยแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยชุมชน เพื่อชุมชน เป็นการขับเคลื่อนพร้อมกันทั้งในเมืองและชนบทโดยขอให้คณะกรรมการฯทุกชุดกำหนดเป้าหมาย กรอบเวลาทำงานและตัวชี้วัดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วย