พลังงาน

หม้อแปลงใต้น้ำ จุฬาฯ ตอบโจทย์นโยบายอดีตนายก “ชนม์สวัสดิ์”นำระบบสายลงดินจังหวัดสมุทรปราการทั้งระบบ

หม้อแปลงใต้น้ำ จุฬาฯ ตอบโจทย์นโยบายอดีตนายก “ชนม์สวัสดิ์”นำระบบสายลงดินจังหวัดสมุทรปราการทั้งระบบ  “วิมล มงคลเจริญ” ปลัด อบจ.สมุทรปราการ ชม ! “จุฬา Smart Street Low Carbon” อังรีดูนังต์ ตอบโจทย์จังหวัดสมุทรปราการ ในการพัฒนาเมืองให้สมบูรณ์ นำสายไฟลงดินทั้งระบบ สร้างแหล่งท่องเที่ยวแห่งใม่ หนุนนโยบายรัฐ “ลดคาร์บอน” ชี้! จังหวัดสมุทรปราการ มีนโยยายมาตั้งแต่ ท่านชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม เป็นนายก อบจ. หากนำสายไฟ หม้อแปลงใต้น้ำลงดินทั้งระบบ จะสร้างทัศนียภาพให้เมืองสวยงาน ดึงดูดนักท่องเที่ยวเพิ่ม สร้างรายได้/สร้างความพอใจให้ชาวประชาชนชาวปากน้ำอย่างแน่นอน”

นายวิมล มงคลเจริญ ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ เปิดเผยว่า การนำสายไฟฟ้า และสายสื่อสารลงดินในพื้นที่ กทม. สมุทรปราการ นั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพราะในระยะหลังๆ นี้ เกิดเหตุเพลิงไหม้หม้อแปลงไฟฟ้าบ่อยครั้ง ล่าสุด ไฟไหม้หม้อแปลงไฟฟ้าช่วงสำเพ็ง ซึ่งเมื่อเกิดเหตุขึ้นมาแล้ว สร้างความเสียหายตามมาอย่างมากมาย ทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยเฉพาะสร้างความวิตกกังวลให้ชาวบ้านเป็นอย่างมากในเวลาเดินผ่านบริเวณที่มีสายไฟ สายสื่อสาร รกรุงรัง กลัวเกิดความไม่ปลอดภัยแก่ตน โดยเฉพาะเวลาเดินผ่านเสาไฟฟ้าที่มีหม้อแปลงติดตั้งอยู่พื้นที่จังหวัดสมุทรปราการเป็นอีกจังหวัดหนึ่ง พบว่าประสบปัญหาสายไฟ สายสื่อสารอยู่บนเสารกรุงรังไม่น่าดู ยิ่งใจกลางเมืองด้วยแล้ว ยิ่งไม่น่าดูเป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตามพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการเป็นจังหวัดในเป้าหมายของรัฐบาล ในการนำสายไฟลงดิน แต่นำสายไฟลงดินเฉพาะบริเวณพื้นที่ๆ ที่มีรถไฟฟ้าวิ่งผ่าน

นายวิมล กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับโครงการนำสายไฟฟ้าลงดินในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการนั้น ท่านชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม อดีตนายก อบจ.จังหวัดสมุทรปราการ ได้ริเริ่มโครงการ และมอบนโยบายให้ อบจ. ในขณะนั้น ทำการศึกษาการนำสายไฟลงดิน พร้อมหม้อแปลงไฟฟ้าใต้น้ำ เพื่อยกระดับและพัฒนา จังหวัดสมุทรปราการ ให้ทันสมัยอย่างยั่งยืน และปัจจุบัน ท่าน นันธิดา แก้วบัวสาย นายก อบจ. คนใหม่ ก็ได้ให้ความสำคัญในนโยบายการพัฒนาเมืองดังกล่าว สร้างความมั่นคงที่ยั่งยืนของระบบพลังงาน สร้างความพอใจให้กับพี่น้องประชาชนชาวสมุทรปราการ ลดผลกระทบจากสายไฟฟ้า สายสื่อสาร หม้อแปลงไฟฟ้า ที่รกรุงรัง เบียดบังภูมิทัศน์อันสวยงามของเมืองในปัจจุบัน ให้ดูดีขึ้น ด้วยการนำระบบสายไฟหม้อแปลงใต้น้ำลงดินทั้งระบบ โดยใช้โครงการที่ จุฬาฯ ทำเป็นตัวอย่างเพื่อการตอบโจทย์ สร้างจังหวัดสมุทรปราการ เป็นเมืองไร้สายที่งดงาม

“ที่ผ่านมาตนได้ไปเยี่ยมชมโครงการการนำสายไฟลงดินทั้งระบบ แห่งแรกของประเทศ ที่สยามสแควร์ในโครงการ “จุฬา Smart Street Low Carbon” อังรีดูนังต์ สถานที่แห่งนี้ ตอบโจทย์ด้านการพัฒนาเมืองที่สมบูรณ์ ด้วยการนำไฟฟ้าสายไฟ หม้อแปลงใต้น้ำลงดินทั้งระบบ เพื่อแก้ไขปัญหาสายไฟฟ้า สายสื่อสาร และหม้อแปลง บดบังหน้าบ้าน หน้าร้านหมดไป สร้างทัศนียภาพใหม่ให้เมืองดูสวยงาม ตัวอย่างที่เห็นได้ คือ “สยามสแควร์” ดูสะอาด สวยงามอย่างยิ่ง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ที่ทันสมัย และยังเป็นสถานที่ที่ให้ข้อมูลการลดต้นทุนวิตถุดิบลดเรือนกระจก ลดคาร์บอน ได้ 11.5% ของการผลิตกระแสไฟฟ้า หนุนให้กรุงเทพฯ เป็นมหานครแห่งอาเซียน ตามนโยบายของรัฐบาล ทั้งนี้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าภูมิภาค หน่วยงานภาครัฐ เอกชน สถานศึกษา ภาคอุตสาหกรรม สามารถศึกษาเยี่ยมชมเป็นต้นแบบได้ และจังหวัดสมุทรปราการก็เช่นเดียวกัน พื้นที่เมืองจำกัด ทางเดินคับแคบ ไม่สามารถติดตั้งหม้อแปลงได้ โครงการที่จุฬาฯ ตอบโจทย์ ในการนำสายไฟ หม้อแปลงใต้น้ำลงดินทั้งระบบ สร้างความพอใจให้พี่น้องประชาชน สายไฟ/หม้อแปลงจะไม่บดบังหน้าร้าน หน้าบ้านอีกต่อไป สร้างความปลอดภัยจากอัคคีภัย สร้างทัศนียภาพใหม่ให้สมุทรปราการ เป็นเมืองท่องเที่ยวแห่งใหม่อย่าง “สยามสแควร์” ส่งผลดีตามมาอีกมากมาย ทั้งเมืองมีความสวยงามเพิ่มขึ้น สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวจังหวัดสมุทรปราการ สร้างรายได้ สร้างเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน และในประเด็นนี้ ตนเองพร้อมนำเสนอ อบจ.สมุทรปราการ ในการนำสายไฟ หม้อแปลงใต้น้ำลงดินทั้งระบบ สร้างความพอใจให้ประชาชน สร้างรายได้อย่างยั่งยืนต่อไป” นายวิมล กล่าว

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button