สังคมสูงวัย

7 เนอสซิ่งโฮมพลิกโฉมสังคมผู้สูงวัย จับมือ “เมืองไทยประกันชีวิต” ครั้งแรกออกแบบประกันคุ้มครองสุดพิเศษเจาะอายุ 40-80 ปี

บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ MTL ตระหนักและให้ความสำคัญถึงการที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว พร้อมที่จะเดินเคียงข้างในทุกช่วงจังหวะของชีวิต ด้วยการเปิดตัวกลยุทธ์ “SILVER Readiness by MTL” (S=Solution I=Integration L=Longevity V=Value Added E=Excellence R=Readiness) มุ่งเน้นการตอบโจทย์ที่หลากหลายรอบด้านเพื่อการดูแลกลุ่มผู้สูงอายุยุคใหม่ (Silver Age) ให้มีความสุขและใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่

ล่าสุดได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตและความคุ้มครองสุขภาพ ที่สามารถตอบโจทย์และช่วยขจัดความกังวลของผู้สูงวัยขึ้นมาโดยเฉพาะ ได้แก่ “โครงการสมาร์ท ซิลเวอร์” และ “โครงการสมาร์ท ซิลเวอร์ พลัส” ซึ่งโดดเด่นด้วยการเลือกความคุ้มครองได้ตรงใจ กังวลโรคไหนก็เลือกให้อุ่นใจได้ ไม่ว่าจะเป็นความคุ้มครองโรคสมองเสื่อม ชนิดอัลไซเมอร์และโรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน รวมถึงคุ้มครองกรณีเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ จนไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเองอย่างถาวรตั้งแต่ 3 ใน 6 อย่าง ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 180 วัน ประกอบด้วย 1.การเคลื่อนย้าย 2.การเดินหรือเคลื่อนที่ 3.การแต่งกาย 4.การอาบน้ำชำระร่างกาย 5.การรับประทานอาหาร และ 6.การขับถ่าย อีกทั้งยังให้ความคุ้มครองกรณีกระดูกแตกหัก โดยสามารถเลือกรับผลประโยชน์เป็นเงินก้อน หรือรายเดือน และสามารถระบุผู้รับประโยชน์เป็นสถานให้บริการผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง หรือโรงพยาบาลผู้สูงอายุ (Nursing Home) ที่มีรายชื่อร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับบริษัทฯ ซึ่งมีมาตรฐานตามกฎกระทรวงสาธารณสุขกำหนด ทั้งมาตรฐานด้านสถานที่ มาตรฐานด้านความปลอดภัย และมาตรฐานด้านการให้บริการ สมัครได้ตั้งแต่อายุ 40-80 ปี พร้อมให้ความคุ้มครองดูแลยาวถึงอายุ 81 ปี

นอกจากนี้ หากต้องการวางแผนให้มีเงินใช้สบาย ๆ หลังเกษียณ ด้วยประกันบำนาญที่มีหลายแบบประกันให้เลือกได้ตามใจ การันตีมีบำนาญใช้ทุกปี สามารถเลือกรับบำนาญเป็นรายปี หรือรายเดือน และเลือกจ่ายผลประโยชน์เข้า Nursing Homeได้ ซึ่งจะช่วยคลายความกังวล สร้างความอุ่นใจ และแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลให้กับวัยซิลเวอร์ได้เป็นอย่างดี โดย MTL ได้ร่วมมือกับ Nursing Home ชั้นนำของประเทศ 7 องค์กร เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าคนสำคัญ

พญ. นาฏ ฟองสมุทร ผู้เชี่ยวชาญการจัดการด้านผู้สูงอายุ (ถือไมค์)

ในเรื่องนี้ พญ. นาฏ ฟองสมุทร ผู้เชี่ยวชาญการจัดการด้านผู้สูงอายุ เปิดเผยว่า การรวมพันธมิตร Nursing Home ครั้งนี้เป็นสิ่งที่สวยงามมาก ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัวแต่ตนขอเรียกว่า “สังคมวัยอิสระ” เพราะเป็นวัยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมักจะทำอะไรด้วยตัวเองเสมอ และการเข้าสู่วัยอิสระให้สมบูรณ์แบบจะต้องเตรียมตัวให้พร้อมด้วยทุน 3 ประการ ได้แก่ 1.ทุนด้านสุขภาพ ต้องประคองสุขภาพให้แข็งแรงหลีกเลี่ยงการใช้ชีวิตที่ก่อให้เกิดโรค NCDs หรือ non-communicable diseases เป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อาทิ เบาหวาน ความดัน ซึ่งจะทำให้ชีวิตไม่ยืนยาว 2.ทุนในกระเป๋าเมื่อถึงเวลาเกษียณในกระเป๋าไม่มี  ไม่มีการเก็บเงิน การออมในรูปแบบต่างๆ ไว้ ทุนประกันก็เป็นส่วนสำคัญในอนาคตด้วย ซึ่งการออมที่ดีในระดับชนชั้นกลางต้องมีทุนประมาณ 7-10 ล้านบาท ถึงจะเพียงพอในการดูแลชีวิตให้มีคุณภาพด้านเฮลท์แคร์อย่างเหมาะสม และ 3. ทุนด้านจิตวิญญาณและสังคม ชีวิตในวัยอิสระต้องทำประโยชน์ให้กับสังคมบ้าง มีเพื่อน มีสังคม มีกิจกรรมอะไรต่างๆ ที่ทำแล้วรู้สึกว่า ชีวิตหลังเกษียณมีคุณค่า และภาคภูมิใจ

“ในช่วงหลังๆ การทำงานเกี่ยวกับผู้สูงอายุ 60 ปี เริ่มถอยหลับมาอายุ 40-60 ปีมากขึ้น เพราะว่าวัยเหล่านี้จะเป็นสึนามิของประเทศ และเป็นสึนามิก้อนใหญ่ของประเทศที่จะมาก่อนหน้ามีอายุเข้าสู่ 60 ปีเร็วๆ นี้ ซึ่งสึนามึจะเข้าต่อเนื่องเป็นเวลา 20 ปี ทำให้มีวัยอิสระเติมเข้ามาในสังคมปีละ 1 ล้านคน การทำอย่างไรประเทศถึงจะอยู่ได้และคนกลุ่มนี้จะมีคุณภาพชีวิตที่ดี จึงต้องมีการเตรียมพร้อมที่เหมาะสม ซึ่งทางเมืองไทยประกันชีวิตได้ลุกขึ้นมาทำเรื่องการเตรียมพร้อมเรื่องเข้าสู่วัยอิสระ หรือวัยเกษียนเนิ่นๆ ตั้งแต่อายุ 40-60 ปี ถือเป็นเรื่องที่เหมาะสม”

พญ. นาฏ กล่าวด้วยว่า แบบประกันที่เหมาะสมกับวัยอิสระควรจะเป็นแบบประกันที่ปลอดโปร่ง คลายความกังวลต่างๆ ในเรื่องความเจ็บไข้ได้ป่วย การเกิดอุบัติเหตุต่างๆ ที่จะสามารถเข้ารับการรักษาได้ และเมื่อรับการรักษาแล้ว การฟื้นฟูสุขภาพ ให้กลับมาอย่างเหมาะสม ต้องมีระบบอุปกรณ์ มีคนดูแล เพื่อให้เรากลับมาเป็นวัยอิสระได้อย่างที่ต้องการ

มร.จุนอิชิโร่ ซาโต้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุฮันโนะ-เวชพงศ์ (ถือไมค์)

มร.จุนอิชิโร่ ซาโต้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุฮันโนะ-เวชพงศ์  กล่าวว่า จากประสบการณ์จากญี่ปุ่นแบบประกันเพื่อผู้สูงอายุเริ่มต้นเมื่อ 25 ปีที่แล้ว เกิดมาจากลูกหลานต้องออกจากงานเพื่อมาดูแลพ่อแม่ เพราะยังไม่มีผู้เชี่ยวชาญที่คอยดูแลให้ ทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงมาก พอแบบประกันผู้สูงอายุเกิดขึ้น ทำให้มีสถานดูแลผู้สูงอายุเกิดขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญ ทำให้ชีวิตผู้สูงวัยดีขึ้น ขณะเดียวกันความเป็นอยู่ของลูกหลานก็ดีขึ้นไม่ต้องออกจากงาน และมองว่าความร่วมมือกับ MTL ครั้งนี้ในระยะ 5 ปีจะมีประโยชน์กับลูกค้าของฮันโนะเป็นอย่างมาก

“เมื่อ 3 ปีที่แล้วผม และภรรยาได้เข้ามาก่อตั้งศูนย์ฮันโนะ-เวชพงศ์ ในประเทศ และได้รับลูกค้าเข้ามาดูแล 110 คนในช่วง  3 ปีนี้ เน้นดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อม โดยเอาประสบการณ์ 25 ปี ด้วยเทคนิคจากโรงพยาบาลฮันโนะที่ประเทศญี่ปุ่นมาปรับใช้ที่ศูนย์ฯ ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมบำบัด การกระตุ้นสมอง กายภาพบำบัด โภชนาการโดยนัดกำหนดอาหาร ซึ่งตลอด 3 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าจะมีการเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด แต่ก็ยังได้รับคำชมจากครอบครัวที่เข้ามาอยู่ในศูนย์ฯของเรา 110 คน และวันนี้เราก็พร้อมจะให้บริการคนไทยต่อไป”

นายสมนึก ตันฑเทิดธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศิริอรุณ เวลเนส จำกัด (ถือไมค์)

ด้านนายสมนึก ตันฑเทิดธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศิริอรุณ เวลเนส จำกัด และศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพและดูแลผู้สูงอายุอีกหลายแห่ง กล่าวว่า  บริษัทเป็นน้องใหม่ที่ดำเนินธุรกิจดูแลผู้สูงอายุมา 2 ปี เพื่อบริการลูกค้าของบริษัท บริษัท เอ็น.ซี.เฮ้าส์ซิ่ง จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของศิริอรุณ ที่มีโครงการบ้านจัดสรรกว่า 60 โครงการ มีลูกค้ากว่า 14,000 ครอบครัว ซึ่งได้เปิดศูนย์ฯ ที่โรงพยาบาลศิริราชดูแลลูกค้าทั่วไป และศูนย์ฯ ที่จังหวัดอุบลราชธานีตั้งใจให้เป็นสมาร์ทเอ็นจิ้ง พลัส  เชื่อว่าจะเป็นโครงการที่ดีมากๆ สำหรับคนทั่วไป ที่สำคัญหุ้นส่วนของเรามีศูนย์บริการที่มีมาตรฐานได้รับรองมาตรฐานจากกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงานฯ และกระทรวงสาธารณสุข ที่มีรางวัลการันตีมาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุมากมาย

“ศูนย์ฯ ของเราได้มาตรฐานในการดูแล การเคลมการดูแลผู้สูงอายุ ผมคิดว่าตรงนี้จะเป็นสำคัญ มาตรฐานการมีบุคลากรในการดูแลผู้สูงอายุ และสถานที่ได้คุณภาพระดับสูง รวมถึงทีมงาน อุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งแสดงถึงการเตรียมความพร้อม เพื่อรองรับผู้ใช้บริการของ MTL ต่อไป”

แพทย์หญิงพิชชาพร ธนาพงศธร ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลวิมุต ViMUT Wellness  บางนา-วงแหวน ศูนย์ฟื้นฟูและดูแลสุขภาพสำหรับครอบครัวและผู้สูงอายุ กล่าวว่า การเกิดความร่วมมือในครั้งนี้ถือว่าเห็นโซลูชั่นแล้วแม้ว่าจะเป็นโครงการนำร่องแต่เชื่อว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีทำให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ ในช่วงที่มีอายุที่สูงขึ้น

“โรงพยาบาลวิมุตได้เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลผู้สูงอายุที่ไม่ใช่โรงพยาบาล จึงแตกบริษัทออกมาเป็น ViMUT Wellness เพื่อเอาจริงเอาจังเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ มีการเปิดเนอสซิ่งโฮมที่สุขาภิบาล 2 มีจำนวน 50 เตียง และตั้งเป้าหมายไว้ว่าปี 2566 จะเพิ่มสาขาอีก ขณะนี้อยู่ระหว่างทดลองอยู่ 2 โมเดลระหว่างหน้าชุมชนหน้าหมู่บ้านต่างๆ สิ่งสำคัญเราเอามาตรฐานของโรงพยาบาลเข้ามาให้บริการ เพราะต้องการให้มีคุณภาพระดับโรงพยาบาล และมีการส่งต่อระหว่างกัน หากมีการเจ็บป่วยเนอสซิ่งโฮมรับไม่ไหวก็สามารถส่งต่อไปยังโรงพยาบาลได้”

ด้านนายแพทย์คณภพล ภูมิรัตนประพิณ ประธานกรรมการบริหาร เฮลท์ แอท โฮม แคร์ เซ็นเตอร์ กล่าวว่า ตอนที่ออกมาเป็นผู้ประกอบการเราเห็นปัญหาที่จะดูแลผู้สูงอายุอย่างไรดี  โดยใช้เทคโนโลยีและได้เงินทุนสนับสนุนจาก บริษัท ฟูเชียเวนเจอร์แคปิทัล จำกัด (Fuchsia VC) ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มของเมืองไทยกรุ๊ปโฮลดิ้ง รู้สึกตื่นเต้นที่เกิดโซลูชั่นนี้ขึ้นมา และถือว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ขึ้นในบริการสาธารณสุข เพราะว่าในบริการสาธารณสุขมี Player เกิดขึ้นแล้ว

นายแพทย์เก่งพงศ์ ตั้งอรุณสันติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลผู้สูงอายุเฌ้อสเซอรี่โฮม (ถือไมค์)

นายแพทย์เก่งพงศ์ ตั้งอรุณสันติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลผู้สูงอายุเฌ้อสเซอรี่โฮม และศูนย์ส่งเสริมและฟื้นฟูผู้สูงวัยอีกหลายแห่ง กล่าวว่า การออกผลิตภัณฑ์ของเมืองไทยประกันชีวิตจะช่วยผู้สูงวัยที่ติดบ้าน ติดสังคม และติดเตียงจะได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี เพราะช่วงท้ายๆ ของการฟื้นฟูสุขภาพมีราคาที่สูงมาก แต่การที่เราทำงานร่วมกับพันธมิตรกันเป็นการเติมเต็มความมั่นใจให้กับสังคมไทยก้าวสู่ผู้สูงอายุ ไม่หวั่นกลัวสึมนามึมากนัก และยังเป็นหลักประกันชีวิตของครอบครัวด้วย ที่จำทำให้เราสามารถก้าวผ่านไปได้ ทางเฌ้อสเซอรี่โฮมมีความตั้งใจที่จะได้เป็นศูนย์ส่งเสริมและฟื้นฟูผู้สูงวัยแล้วยังอยากจะเป็นเป็นโซลูชั่นให้กับคนไทยในการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสุขภาพให้ผู้สูงอายุด้วย

“ตอนนี้ศูนย์ในเครือมีมากกว่า 4-5 โครงการ ในอนาคตทางเฌ้อสเซอรี่โฮมจะเปิดในสาขาเพิ่มอีก อาจจะโฟกัส ในช่วง 3-5 ปีแรกในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลก่อน เรามีเฌ้อเซอรี่โฮมเซอร์ซิสที่เป็นโรงพยาบาล และศูนย์ส่งเสริมและฟื้นฟูผู้สูงวัยแล้วเราจะเปิดไปยังโฮมแคร์ที่จะไปดูแลผู้สูงอายุไม่ว่าจะเป็นการการส่งผู้ไปดูแลที่รับการผ่าตัด การทำแผลที่บ้าน ภายใต้การดูแลของทีมหมอที่ได้มาตรฐานระดับสากล”

นายแพทย์กฤต วรรณพฤกษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ เดอะซีเนียร์ รัชโยธิน เดอะซีเนียร์ (ซ้ายมือ)

นายแพทย์กฤต วรรณพฤกษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ เดอะซีเนียร์ รัชโยธิน เดอะซีเนียร์ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิง กล่าวว่า เดอะซีเนียร์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2539 เป็นรุ่นที่สองในการเข้ามาดูแลธุรกิจ และจากการเติบโตมาพร้อมกับวัยอิสระ ทำให้เห็นปัญหาหรือจุดอ่อนในเรื่องการดูแลวัยอิสระ โดยเฉพาะการเกิดโรคสมองเสื่อม ชนิดอัลไซเมอร์และโรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน และการทุพพภาพถาวร โครงการสมาร์ท ซิลเวอร์ พลัส จะให้ความคุ้มครองผ่านทางพันธมิตรของเราจะเข้ามาดูแลวัยอิสระให้มีความปลอดภัย มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และลดภาระของลูกหลาน และลดโอกาสเข้าโรงพยาบาลซ้ำด้วย  ซึ่งการบริการเนอสซิ่งโฮมจะเข้ามาช่วย ไม่ใช่แค่ดูแลสุขภาพให้ดีขึ้น แต่ลดเข้าโรงพยาบาลซ้ำ เป็นผลดีในการลดทั้งเม็ดเงินลูกหลานและประกันจ่ายด้วยซ้ำด้วย

“ผมดีใจที่เห็นตัวโปรดักซ์นี้ออกมา และถือว่าเป็นก้าวที่ดีก้าวที่สำคัญของการดูแลวัยอิสระ ทางเดอะซีเนียร์เราพร้อมเข้ามาช่วยดูแล เพราะรู้ว่าการดูแลวัยอิสระ รายละเอียดค่อนข้างซับซ้อน และต้องรายละเอียดลออด้วย”

ดร.อำนาจ ประสิทธิ์ดำรง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เดอะซีนิเซ่นส์ จำกัด ศูนย์ส่งเสริมและฟื้นฟูผู้สูงวัย เดอะซีนิเซ่นส์ กล่าวว่า สิ่งที่เดอะซีนิเซ่นส์ได้ดำเนินมาตลอด 5 ปี นั่นคือ  Passion เราสร้างศูนย์ส่งเสริมและฟื้นฟูผู้สูงวัยนี้ด้วยความรัก ความรู้สึกที่อยากทำให้คนที่เรารักมากกว่ามองเห็นเป็นโอกาสทางธุรกิจ ถือเป็นแนวคิดแรกของผู้บริหารทำให้เกิดแรงบันดาลใจหลายอย่างตามมา ในทางกายภาพจะต้องกระจายศูนย์ฯ ไปตามพื้นที่ต่างๆ ให้ครอบคลุมมากที่สุด ขณะเดียวกันจะต้องนำระบบดิจิทัลมาใช้เพื่อให้ครอบคลุมและเข้าถึงผู้สูงวัยทุกกลุ่มด้วย

นายสาระ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร MTL

ด้านนายสาระ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร MTL กล่าวเสริมว่า  MTL เป็นบริษัทประกันชีวิตที่ต้องการทำในเรื่องการดูแลผู้สูงวัยมานานแล้ว แต่มีคำถามเกิดขึ้นเสมอว่า ถ้าเราทำกับใครก็ไม่รู้ มาตรฐานอยู่ไหนจะเกิดอะไรขึ้น แต่วันนี้เรามีบริษัทที่มีความพร้อมความเชี่ยวขาญเกิดขึ้นแล้ว และผลิตภัณฑ์ที่ออกมาไม่ได้มาจากนั่งเทียนเขียน แต่มาจากที่เราเห็นปัญหาหรือจุดอ่อนที่เกิดขึ้นกับผู้สูงวัย และเป็นจุดเริ่มต้นความร่วมมือกันมากกว่าที่จะเป็น Provier และ Player เป็นการช่วยกันพัฒนาและพยายามตอบโจทย์ปิดช่องโหว่ และทำให้สังคมไทยเกิดความยั่งยืนต่อไป

“ผมเรียนว่า นี่เป็น Passion เราทุกคนอย่าไปมองในมิติการค้า เพราะจริงๆ แล้วโจทย์ใหญ่คือ ความท้าทายที่เกิดขึ้นในประเทศนี้ ต้องยอมรับว่า มีหลายคนไม่มีความพร้อม แต่ว่าวันนี้คนที่ทำในด้านการให้บริการเกิดขึ้นเยอะมาก มีมาตรฐานที่ดีด้วย และมีผู้จ่ายจริง ทำให้เห็นว่า เราบูรณาการด้วยกันน่าจะตอบโจทย์ให้กับประเทศ สามารถปิดช่องโหว่การดูแลผู้สูงวัยได้ และเป็นความท้าทายที่เราทำได้ด้วย” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร MTL กล่าวทิ้งท้าย

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button