นายกฯ เปิดเข็มทิศประเทศมุ่งสู่การฟื้นตัวยั่งยืน ในเวที “2022 APEC CEO Summit”
วันนี้ (17 พฤศจิกายน 2565) พล.เอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในการประชุม 2022 APEC CEO Summit ว่า ในฐานะที่เอเปค ซีอีโอ ซัมมิท เป็นหนึ่งในการรวมตัวของภาคธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ในภูมิภาค การกลับมาอีกครั้งของการประชุมในรูปแบบพบหน้ากัน ถือเป็นการส่งสัญญาณบวกให้แก่ ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และการที่ทุกท่านมาเข้าร่วมประชุมกันอย่างอุ่นหนาฝาคั่งในวันนี้ สะท้อนให้ เห็นว่า ภูมิภาคของเรากลับมาเดินหน้าทำธุรกิจอย่างเต็มที่อีกครั้งหลังจากที่ชะงักงันมาหลายปี การกลับมาครั้งนี้เป็นโอกาสให้เราฟื้นฟูความเชื่อมโยง รื้อฟื้นความสัมพันธ์ และสานต่อความร่วมมือระหว่างกันอย่างน่ายินดียิ่ง
ขณะที่โลกกลับมาเชื่อมโยงกันอีกครั้งในยุคหลังโควิด ไทยกำลังขับเคลื่อนความร่วมมือเอเปค ในประเด็นที่ท้าทายและมีวิสัยทัศน์ ได้แก่ ประเด็นการค้าและการลงทุนใหม่ ๆ การเปลี่ยนผ่านไปสู่ ดิจิทัลอย่างรวดเร็ว ความจำเป็นในการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานและการเดินทาง วาระความยั่งยืนของ โลก โดยคำนึงถึงเศรษฐกิจที่มีพลวัตสูงในปัจจุบัน ซึ่งประเด็นเหล่านี้ได้สะท้อนอยู่ในหัวข้อหลักของ เอเปคปีนี้ คือ OPEN.CONNECT.BALANCE
เชื่อว่าภาครัฐและภาค ธุรกิจสามารถร่วมมือกันได้อย่างเข้มแข็ง ดังนี้
ประเด็นแรก การส่งเสริมความยั่งยืน ทุกวันนี้ เราเผชิญหน้ากับความท้าทายทางสิ่งแวดล้อม อย่างที่ไม่เคยประสบมาก่อน เราได้เห็นพายุและภัยแล้งเกิดขึ้นบ่อยและรุนแรงมากขึ้น อุณหภูมิโลก และระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น คุณภาพอากาศที่ย่ำแย่ลง และการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของพวกเรา เราจึงจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อให้มั่นใจว่าการเติบโตเป็นไปอย่างยั่งยืนเพื่อความเจริญรุ่งเรืองในระยะยาวของภูมิภาค
ในการผลักดันการเติบโตที่สมดุลและครอบคลุม เราได้กำหนดให้ความยั่งยืนเป็นวาระสำคัญสูงสุดของเอเปคในปีนี้ และเรามุ่งมั่นที่จะนำเศรษฐกิจ BCG มาขับเคลื่อนการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจที่ยืดหยุ่นในระยะยาว ควบคู่ไปกับการส่งเสริมความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม อย่างครอบคลุม พร้อมทั้งหาหนทางที่เหมาะสมให้ธุรกิจยังสามารถมีผลกำไรได้
ผมเชื่ออย่างยิ่งว่า เราทุกคนสามารถร่วมมือกันได้เพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมและพัฒนาวิถีการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนมากขึ้น ความร่วมมือที่เข้มแข็งและความมุ่งมั่นจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐกับเอกชนเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนและครอบคลุม เราจะต้องเปลี่ยนการกระทำของเราในวันนี้ เพื่ออนาคตที่ดีกว่าเดิม
พวกเราสามารถร่วมมือกันเพื่อใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพที่เข้มแข็ง ของเราผ่านนวัตกรรมและเทคโนโลยี นำทรัพยากรอันมีค่ามาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อบรรลุ เป้าหมายให้ของเสียเป็นศูนย์ในกระบวนการผลิต ที่สำคัญที่สุด ธุรกิจสามารถมุ่งไปสู่ความยั่งยืนด้าน สิ่งแวดล้อมโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่ล้าสมัยในการผลิตของภาคเกษตรและอุตสาหกรรม สิ่งเหล่านี้ยัง สอดคล้องกับแนวคิดเรื่องการด าเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ และวิธีการที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล หรือ ESG ที่ภาคเอกชน ทั่วโลกให้ความสำคัญมากในขณะนี้
ในการที่จะเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจที่ยั่งยืนนั้นไม่ง่ายและต้องทำแบบรอบด้าน เรากำลังสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เอื้อต่อภาคเอกชน เพื่อส่งเสริมการลดของเสีย และการปล่อยก๊าซมลพิษ การค้าและการลงทุนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมยิ่งขึ้น รวมถึงนวัตกรรม ที่สนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำควบคู่ไปกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ขณะเดียวกัน การเงินการคลังที่ยั่งยืน ก็มีความสำคัญยิ่งต่องานของเรา การประชุมรัฐมนตรีคลังเอเปคเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของเรื่องนี้ ดังนั้น ภาคเอกชนสามารถมี บทบาทสำคัญในการพัฒนาระบบการเงินที่ยั่งยืนที่อิงกลไกตลาด ตราสารทางการเงิน และเทคโนโลยี รูปแบบใหม่ เพื่อส่งเสริมการไหลเวียนของเงินทุนไปสู่เศรษฐกิจที่ยั่งยืน เราจะสานต่อการทำงานเพื่อสร้างระบบนิเวศทางการเงินที่เอื้อให้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนสามารถบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนได้
สำหรับเส้นทางไปสู่ความยั่งยืนของไทย เรากำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาดเพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือน กระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2025โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรม EV และการพัฒนาระบบนิเวศที่เกี่ยวข้อง ในการนี้ไทยมุ่งจะเป็นฐานการผลิต EV ที่ใหญ่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่งในอนาคตอันใกล้ โดยเราพร้อมร่วมมือทางด้านการเงินและด้านวิชาการ ตลอดจนการแบ่งปัน ความรู้ การเผยแพร่เทคโนโลยี และการพัฒนาขีดความสามารถกับทุกท่าน อย่างรอบด้าน เพื่อบรรล เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่นี้
ประเด็นที่สอง การเจริญเติบโตที่ครอบคลุม เราต้องมั่นใจว่าเราไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังใน เส้นทางการพัฒนาของเรา ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจ BCG ที่ผลักดันให้เรามองไกล ไปกว่าเพียง แค่การสร้างผลกำไรให้มากที่สุด และหันมาให้ความสำคัญกับการท าธุรกิจที่สมดุล ครอบคลุม และ ยั่งยืน การเจริญเติบโตนี้ต้องเป็นประโยชน์ต่อทุกภาคส่วนในภูมิภาคของเรา จึงเป็นหน้าที่ของภาครัฐ ที่ต้องท าให้ทุกคนได้รับประโยชน์จากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการทำธุรกิจ ผ่านการเสริมทักษะที่จำเป็น ขยายโอกาสในการจ้างงาน และสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการประกอบ ธุรกิจ
เอเปคผลักดันให้มีการปฏิรูปทางโครงสร้างและมาตรการที่จำเป็น เพื่อสร้างแรงจูงใจ ทางการเงินสำหรับการลงทุนที่มีคุณภาพ และขจัดอุปสรรคของการทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการปฏิรูป กฎระเบียบภายใน การส่งเสริมบรรยากาศของการดำเนินธุรกิจและการลงทุน การช่วยเหลือ MSMEs และกลุ่มที่ยังไม่ได้รับการปลดปล่อยศักยภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะส่งเสริมการดำเนินธุรกิจอย่างมี ความรับผิดชอบ และเอื้อต่อการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เทคโนโลยีดิจิทัล และปัจจัยสนับสนุนอื่น ๆ
เราต้องดูแล MSMEs ของพวกเรา ซึ่งมีสัดส่วนกว่าร้อยละ 98 ของธุรกิจทั้งหมด ในภูมิภาค และคิดเป็นร้อยละ 40-60 ของ GDP ในเขตเศรษฐกิจเอเปคส่วนใหญ่ ด้วยเหตุนี้ เรามุ่งที่จะร่วมมือกับพวกท่านเพื่อทำให้ MSMEs ของพวกเรามีขีดความสามารถในการแข่งขัน และสร้างนวัตกรรม ตลอดจนส่งเสริมให้สามารถเข้าถึงตลาดและแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น
นอกจากนี้ สตรีและเยาวชนก็มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนและครอบคลุม ควบคู่กับการคำนึงถึงเพศสภาวะในการจัดทำนโยบายต่าง ๆ เราจะผลักดันการเสริมพลังสตรีและสนับสนุนการมีส่วนร่วมในเศรษฐกิจอย่าง แท้จริง สำหรับเยาวชนซึ่งเป็นอนาคตของเรา เราต้องรับฟังเสียงของพวกเขา เมื่อไม่กี่วันมานี้ ผมได้รับปฏิญญาผู้แทนเยาวชนจากกลุ่มการประชุมผู้แทนเยาวชนเอเปค ซึ่งหนึ่งในประเด็นสำคัญ คือ การเร่งรัดการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืนและการปกป้องโลกเพื่อคนรุ่นหลัง
ประเด็นที่สาม การมุ่งไปสู่ดิจิทัล เศรษฐกิจดิจิทัลเป็นมิติใหม่ของการสร้างอาชีพ และการเจริญเติบโตในภูมิภาคของเรา เอเปคจึงเน้นให้เรื่องการมุ่งไปสู่ดิจิทัลเป็นหนึ่งในประเด็น สำคัญในปีนี้ การเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพจะสร้างโอกาสอย่างมหาศาลส าหรับธุรกิจทั้ง ในและนอกภูมิภาค อนาคตของภูมิภาคขึ้นอยู่กับเราที่จะต้องร่วมมือกัน เพื่อใช้ประโยชน์จากศักยภาพ ของการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล ซึ่งจะเป็นตัวเร่งทางเศรษฐกิจที่ส าคัญขณะที่เราฟื้นตัวจากผลกระทบ ของโรคระบาด และจะมีส่วนต่อการพัฒนาของภูมิภาคในระยะยาวต่อไป
ด้านดิจิทัลและ นวัตกรรมของภูมิภาค ที่นักลงทุนและนักบุกเบิกด้านดิจิทัลสามารถเข้ามาเป็นหุ้นส่วนและสนับสนุน การเติบโตของระบบนิเวศที่มีนวัตกรรมและโครงการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง
สิ่งที่ผมกล่าวไปข้างต้น คือ ทิศทางที่ไทยเชื่อว่า เป็นหนทางที่ภูมิภาคและโลก ต้องก้าวไปให้ถึง หากเราจะฟื้นตัวอย่างยั่งยืนจากผลกระทบของโควิด-19 และเติบโตในระยะยาวอย่างสมดุล ยั่งยืน และครอบคลุม
ดังนั้น เพื่อบูรณาการปัจจัยขับเคลื่อนเป้าหมายที่กล่าวมาทั้งหมด ไทยจึงจะเสนอให้ผู้นำเอเปครับรองเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG ในปลายสัปดาห์นี้ เอกสารฉบับนี้จะกำหนดทิศทางของเอเปคไปสู่เป้าหมายด้านความยั่งยืน วางเป้าหมายเพื่อสนับสนุนความพยายามในการ จัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ขับเคลื่อนการค้าและการลงทุนที่ยั่งยืน ผลักดัน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และปรับปรุงการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดขยะให้เป็นศูนย์
ความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ขึ้นอยู่กับการสนับสนุนจากภาคเอกชน การเป็นหุ้นส่วนที่เข้มแข็ง ระหว่างภาครัฐกับภาคธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ภูมิภาคของเราก้าวไปข้างหน้าและเติบโตไปสู่ อนาคตที่ยั่งยืน ครอบคลุม และสมดุล ด้วยกัน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และในขณะที่รัฐบาลสามารถ ดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อมุ่งสู่การปฏิรูปโครงสร้างที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ท้ายที่สุด ทั้งหมดขึ้นอยู่กับความมุ่งมั่น ยืดหยุ่น และสร้างสรรค์ของภาคเอกชนที่จะขับเคลื่อนความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจในเอเปคให้ก้าวหน้าต่อไป