สุดฟิน !! นักวิ่งนับพันวิ่งรับลมหนาว ท่ามกลางวิวงดงาม ในการแข่งขันโคราชลอยฟ้า มาราธอน ครั้งที่ 1
จังหวัดนครราชสีมา การกีฬาแห่งประเทศไทย ภาค 3 การกีฬาแห่งประเทศไทย จังหวัดนครราชสีมา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจังหวัดนครราชสีมา และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จัดการแข่งขันวิ่งโคราชลอยฟ้า มาราธอน ครั้งที่ 11 ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ต้อนรับนักวิ่งนับพัน วิ่งรับลมหนาว ท่ามกลางวิวสวยงามของอ่างพักน้ำตอนบนและทุ่งกังหันลมโรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา
เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2565 นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขันโคราชลอยฟ้า มาราธอน 2022 ชิงถ้วยพระราชทานจากสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา โดยมีนายสุชีพ มีถม ผู้ช่วยผู้ว่าการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) พร้อมด้วย นายสมชาย อำพันกาญจน์ นายอำเภอสีคิ้ว นายคณัสชณม์ ศรีเจริญ นายอำเภอปากช่อง คุณวดีรัตน์ เจริญคุปต์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ (การเงิน) บริษัท ราชกรุ๊ป จำกัด มหาชน หน่วยราชการ เอกชน รวมถึงนักวิ่งชาวไทยและชาวต่างชาติ นับพันคน เข้าร่วมแข่งขัน ระหว่างวันที่ 10 – 11 ธันวาคม 2565 ณ อ่างพักน้ำตอนบนโรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา บ้านเขายายเที่ยงเหนือ ต.คลองไผ่ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา
นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า การจัดการแข่งขัน “โคราชลอยฟ้า มาราธอน 2022” ได้จัดต่อเนื่องมาเป็นครั้งที่ 11 แสดงถึงการตอบรับจากประชาชนเป็นอย่างดี สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักของทางจังหวัด ที่ต้องการส่งเสริมให้ประชาชนได้ออกกำลังกาย ให้มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง และเพื่อเป็นการพัฒนาเมืองกีฬา นครราชสีมา Sports City ส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวให้กับชุมชนรอบพื้นที่ ตลอดจนประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของจังหวัดนครราชสีมาให้กลับ ฟื้นคืนมาอีกครั้ง
นายสุชีพ มีถม ผู้ช่วยผู้ว่าการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน กฟผ. กล่าวเสริมว่า จังหวัดนครราชสีมา ได้รับการประกาศเป็นเมืองกีฬา Sport City ด้านกีฬาเป็นเลิศ โดยมุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมกีฬาแบบครบวงจรสามารถ สร้างมูลค่าเพิ่ม และส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศในด้านอุตสาหกรรมกีฬา (Sports Industry) การกีฬาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว (Sports Tourism) โดย กฟผ. ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการแข่งขันตั้งแต่ปี 2555 พบว่าการจัดการแข่งขัน ในแต่ละปีประสบความสำเร็จ ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งด้านเศรษฐกิจชุมชน การท่องเที่ยวชุมชน จนได้รับการยกระดับพื้นที่ด้านการท่องเที่ยวจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็น UNSEEN NEW SERIES 1 ใน 5 ของภาคอีสาน และยังได้รับรางวัลระดับยอดเยี่ยมด้านการท่องเที่ยว รางวัลกินรี ในปี 2564 โครงการประกวดรางวัลอุตสาหกรรมอีกด้วยสำหรับการแข่งขัน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1) ฮาล์ฟมาราธอน ระยะทาง 21.1 กิโลเมตร 2) มินิมาราธอน ระยะทาง 10.5 กิโลเมตร และ 3) ฟันรัน ระยะทาง 5 กิโลเมตร โดยผู้แข่งขันประเภทฮาล์ฟมาราธอนรุ่นทั่วไป ที่เข้าเส้นชัยเป็นอันดับแรก ได้รับรางวัลถ้วยพระราชทานฯ พร้อมเงินสด คนละ 12,000 บาท ผู้แข่งขันประเภทมินิมาราธอนรุ่นทั่วไป ที่เข้าเส้นชัยเป็นอันดับแรก ได้รับรางวัลถ้วยพระราชทานฯ พร้อมเงินสด คนละ 10,000 บาท ซึ่งมีผู้ได้รับรางวัล ดังนี้