การเกษตร

“สุนทร” มอบนโยบาย ฝนหลวงฯ กำชับเร่งรัดเติมน้ำในเขื่อน เตรียมช่วยเหลือประชาชน และเกษตรกรทั่วประเทศ รับมือภัยแล้ง

“สุนทร ” มอบนโยบาย ฝนหลวงฯ กำชับเร่งรัดเติมน้ำในเขื่อน เตรียมช่วยเหลือประชาชน และเกษตรกรทั่วประเทศ รับมือภัยแล้ง เน้น ต่อยอดผลงานวิจัย ให้เกิดประสิทธิ์ภาพ ในการปฎิบัติการฝนหลวง ครอบคุมทั่วประเทศ

นายสุนทร ปานแสงทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เดินทางมาตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายการดำเนินงานให้แก่กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ณ ห้องประชุมเทวกุล ชั้น 6 กรมฝนหลวงและการบินเกษตรโดยมี นายสุพิศ พิทักษ์ธรรม รองอธิบดีกรมฝนหลวง และการบินเกษตร พร้อมด้วยผู้บริหารข้าราชการและเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมรับฟัง

โดย​นายสุนทร ปานแสงทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ถือเป็นอีกหนึ่งหน่วยงานสำคัญที่ได้รับมอบหมายให้กำกับดูแล ซึ่งมีภารกิจเฉพาะด้านในการปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำในพื้นที่การเกษตร พื้นที่ป่าไม้และเขื่อนเก็บกักน้ำ ซึ่งเป็นการช่วยบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนที่ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค และประสบปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติด้านต่าง ๆ เช่น ปัญหาหมอกควันไฟป่า ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ตลอดจนการบรรเทาความรุนแรงของพายุลูกเห็บ และประการสำคัญยังมีภารกิจด้านการศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีฝนหลวง การดัดแปรสภาพอากาศ และปฏิบัติการบินเพื่อการเกษตร ซึ่งเป็นการต่อยอดตามตำราฝนหลวงพระราชทาน ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงพระราชทานโครงการพระราชดำริฝนหลวง ให้ได้ปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่เกษตรกร และประชาชน

อย่างไรก็ตาม ในส่วนการดำเนินงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายให้แก่ผู้บริหารเพื่อขับเคลื่อนงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตามนโยบายหลัก 15 ด้าน โดยในส่วนของกรมฝนหลวงและการบินเกษตรมีความเกี่ยวข้องกับประเด็นด้านที่ 7 คือ การบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ พร้อมได้มอบแนวทางการดำเนินงานเพิ่มเติม ได้แก่ 1.การแก้ปัญหาภัยแล้ง ให้ดำเนินการตามมาตรการ ที่คณะรัฐมนตรี เห็นชอบ 10 มาตรการรองรับฤดูแล้ง 2565/2566 และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปี 2566 เพื่อแก้ไขปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน

สำหรับมาตรการที่เกี่ยวข้องฝนหลวง คือ มาตรการข้อที่ 3 ปฏิบัติการเติมน้ำทั้งก่อนและตลอดฤดูแล้ง พร้อมจัดทำแผนปฏิบัติการฝนหลวงรองรับพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำ และปฏิบัติการเติมน้ำให้กับแหล่งน้ำ พื้นที่เกษตร และพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำตามสภาพอากาศที่เหมาะสม 2.การบรรเทาปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน 3.การจัดหาอากาศยาน อุปกรณ์ และเครื่องมือในการปฏิบัติการฝนหลวงให้มีความพร้อม มีประสิทธิภาพ และปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน4.การบูรณาการงานร่วมกับหน่วยงานอื่น โดยดำเนินการตามกรอบความร่วมมือที่มีการประสานหารือไว้ เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการเชื่อมโยง ข้อมูลด้านต่าง ๆ ของหน่วยงาน โดยให้คำนึงถึงความสำคัญของเกษตรกร ยึดหลักการประหยัด ความคุ้มค่า มุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่เกษตรกร และประชาชน และประเทศชาติต่อไป

นอกจากนี้ นายสุนทร ยังกำชับ ให้ทางกรมฝนหลวง ต่อยอดตำราฝนหลวงพระราชทาน โโยกำหนดยุทธศาตร์ เป้าหมายงานวิจัยเพื่อศักยภาพ งานวิจัย เพิอ่มการพัฒนาต่อยอด วิธิการเทคนิคการฝนหลวงให้มีประสิทธิ์ภาพ มากขึ้น โดยเฉพาะการวิจัย การศึกษาวิจัยเพื่อนำไปใช้ในกระบวนการสนับสนุน โดยเฉพาะ การลดกำลังบุคคลากร การโรยสารเคมี เพื่อเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ในสารถ ทำฝนหลวง ได้อย่า่งมีประสิทธิภาพ และเพยงพอต่อความต้องการในการช่วยเหลือประชาชน ขณะเดียวกันก็ควรจะนำเครืองบินที่มีความเหมาะสม ในการปฎิบัติการฝนหลวงในแต่ละพื้นที่ รวมทั้งการนำโดรน มาใช้ในการปฎิการฝนหลวงด้วย

ขณะเดียวกันควรจะมีการตตรวจสอบสภาพอากาศก่อนขึ้นปฎิบติการ และใช้เครื่องเมือในการโปรยสารเคมี ด้วยเครื่องจักรกลอัตโนมัติ เพื่อช่วยลดภาระบุคลาากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อลดต้นทุน ค่ายใช้จ่าย ขณะเดียวกันก็ ควรจะมีการจัดเก็บสต๊อกสารเคมี ที่พร้อมและสามารถใช้งาน ได้ทันทีโดยควรมีที่จัดเก็บที่เหมาะสม พร้อมทั้งขยะเครือข่าย อาสาสมัครฝนหลวง เพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐและประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการควบคุมพื้นที่ปฎิบัติการให้ได้มากที่สุด และสามารถช่วยเหลือประชาชนได้มากที่สุด

“ผม ให้ความสำคัญในการช่วยเหลือประชาชน ในการที่จะต้องมีน้ำอย่างเพียงพอ เพราะหัวใจหลักของการทำเกษตรต้องมีแหล่งน้ำที่เพียงพอ ฝนหลวงต้องตรวจสอบแหล่งนำ้ เพื่อให้เพียงพอในทุกด้าน ไม่ใช่อุปโภคบริโถค อย่างเดียว เพราะปัจจุบัน หน้าที่ฝนหลวงต้องเตรียมทั้งในเรื่องการ เติมน้ำให้กับแหล่งน้ำ เตรียมเรื่องการดับไฟป่า การแก้ปัญหา ฝุ่นละออง pm2.5 ที่ถือเป็นภาระกิจหลักที่เราต้องเตรียมพร้อมด้วย และต้องขอขอบคุณข้าราชการทุกคนที่จะร่วมการในการให้การช่วยเหลือประชาชน “ นายสุทรกล่าว

ด้านนายสุพิศ พิทักษ์ธรรม รองอธิบดีกรมฝนหลวง กล่าวว่า กรมฝนหลวง พร้อมที่จะดำเนินการตามนโยบาย ของกระทรวงเกษตรฯ และ รัฐมนตรีช่วยว่าการประทรวงเกษตรฯ ที่กำกับดูแล กรมฝนหลวง อย่างเคร่งครัด เพื่อตอบสนองการบริการประชาชน โดยเฉพาะในเรื่องการเตรียมพร้อมเรื่องการแก้ปัญหาภัยแล้ง การเติมน้ำในเขื่อน และ แหล่งนำ้ การป้องกันไฟป่า และ การแก้ปัญหาฝุ่นละออง ในช่วง ฤดู แล้งที่กำลังจะมาถึง โดยกรมฝนหลวง จะยึดมั่นในการสร้างความสามัคคี ในองค์กร เพื่อให้ขารคาชการปฎิบัติหน้าที่ด้วยความภาคภูมิใจ ในองค์กร และทำงานอย่างมีความสุข เพราะ แนวทางที่ ท่าน รมช. สุนทร มอบนโยบาน ถือว่าเป็นนโยบายที่ดี ที่จะสามารถสร้างแรงบัลดาลใจ และความคิดสร้างสรรค์ ให้กับข้าราชการได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยกรมฝนหลวงพร้อมที่จะนำ องค์ ความรู้และนวัตกรรมต่างๆ เพื่อ ต่อยอดการทำฝนหลวง ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อ ประโยนชณ์ ของประชนชนต่อไป

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button