สังคมไทยมุง

บ.ยักษ์สนมอเตอร์เวย์“โคราช”และ“กาญจนบุรี”

บริษัทยักษ์ใหญ่พาเหรดยื่นเสนอร่วมลงทุนในการดำเนินงานและบำรุงรักษา(Operation and Maintenance: O&M)โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) สายบางปะอิน-นครราชสีมา และสายบางใหญ่-กาญจนบุรี (M81) จำนวนมาก คาดลงนามในสัญญาได้ ธ.ค.62

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยว่า ตามที่กรมทางหลวง ได้ประกาศเชิญชวนเอกชนที่สนใจเข้าร่วมประกวดข้อเสนอการให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอิน-นครราชสีมา และสายบางใหญ่-กาญจนบุรี ในส่วนของการให้เอกชนร่วมลงทุนในการดำเนินงานและบำรุงรักษา (Operation and Maintenance: O&M) ตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2562 ถึงวันที่ 27 มีนาคม 2562 นั้น ปัจจุบันมีเอกชนเข้าชื้อเอกสาร รายละเอียด ดังนี้

โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอิน – นครราชสีมา (M6) จำนวน 19 รายประกอบด้วย

1.บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน)

2.บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)

3.บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)

4.บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)

5.บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)

6.บริษัท ชีวิลเอนจีเนียริ่ง จำกัด

7.บริษัท ชิโน – ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)

8.บริษัท สี่แสงการโยธา (1979) จำกัด

9.บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

10.บริษัท ช. การช่าง จำกัด (มหาชน)

11.บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน)

12.Metropolitan Expressway Company Limited

13.Marubeni Corporation

14.Japan Expressway Internatioal Company Limited

15.Far Eastern Electronic Toll Collrction Coltd

16.China Harbour Engineering Company Limited

17.China Communications Construction Company Limited

18.Vinci Concessions

  1. บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง

โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่ – กาญจนบุรี (M81) จำนวน 17 รายประกอบด้วย

1.บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)

2.บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)

3.บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)

4.บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)

5.บริษัท ชีวิลเอนจีเนียริ่ง จำกัด

6.บริษัท ชิโน – ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)

7.บริษัท สี่แสงการโยธา (1979) จำกัด

8.บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

9.บริษัท ช. การช่าง จำกัด (มหาชน)

10.บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน)

11.Metropolitan Expressway Company Limited

12.Marubeni Corporation

13.Far Eastern Electronic Toll Collrction Coltd

14.China Harbour Engineering Company Limited

15.China Communications Construction Company Limited

16.Vinci Concessions

17.บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง

 

อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยต่อไปอีกว่า รูปแบบการร่วมลงทุน เป็นการให้ เอกชนร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP Gross Cost โดยรัฐเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินที่เอกชนลงทุนก่อสร้างรวมถึงรายได้ทั้งหมดจากค่าธรรมเนียมผ่านทาง โดยเอกชนได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินค่าก่อสร้างระบบและองค์ประกอบอื่นที่เกี่ยวข้อง ค่าบำรุงรักษา และค่าบริหารจัดเก็บ

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button