พลังงาน

SPCG ประกาศมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ปี 2030 พร้อมจับมือ INNOPOWER “ซื้อขาย” ใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียนจากโซลาร์ฟาร์ม 36 โครงการ

เมื่อวันที่ 20 ก.ย. 66 ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) หรือ “SPCG” ผู้บุกเบิกและผู้นำธุรกิจด้านการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ในรูปแบบโซลาร์ฟาร์ม และโซลาร์รูฟรายแรกของประเทศไทยและอาเซียน ประกาศเจตนารมณ์ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ.2030 หรือ พ.ศ. 2573 พร้อมลงนามข้อตกลงสัญญาให้บริการซื้อขายใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate: REC) ร่วมกับนายอธิป ตันติวรวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินโนพาวเวอร์ จำกัด “INNOPOWER” บริษัทในเครือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ผู้นำด้านนวัตกรรมพลังงาน

ดร.วันดี กล่าวว่า ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและปัญหาภาวะโลกร้อนอย่างจริงจัง ซึ่งได้เข้าร่วม “ความตกลงปารีส” หรือ “Paris Agreement” เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2559 และกำหนดเป้าหมายการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี พ.ศ. 2593 และการบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายในปี พ.ศ. 2608 รวมทั้งได้ยกระดับเป้าหมาย National Determined Contribution หรือ NDC โดยเพิ่มเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกเป็นร้อยละ 40 ภายในปี พ.ศ. 2573
SPCG ตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด อีกทั้งยังตั้งปณิธานในการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนมาอย่างต่อเนื่อง ในฐานะผู้บุกเบิกธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพลังงานที่สะอาด ด้วยโครงการโซลาร์ฟาร์มในประเทศไทยรวม 36 โครงการ รวมกำลังการผลิตกว่า 260 เมกะวัตต์ สามารถลดการปล่อย
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มากกว่า 200,000 ตันต่อปี จึงมั่นใจว่า จะสามารถเป็นบริษัทที่บรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ได้ภายในปี ค.ศ.2030 หรือ พ.ศ. 2573 หรืออาจจะเร็วกว่านั้นก็เป็นได้

ดร.วันดี ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) หรือ “SPCG” ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงสัญญาซื้อขายใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate: REC) กับนายอธิป ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินโนพาวเวอร์ จำกัด “INNOPOWER” บริษัทในเครือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ผู้นำด้านนวัตกรรมพลังงาน เพื่อส่งเสริมเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย ในการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี พ.ศ. 2593 และการบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์(Net Zero Emissions) ภายในปี พ.ศ. 2608 อีกทั้งจะเป็นการส่งเสริมการใช้และการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียน
ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผ่านการซื้อขายใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate: REC)

สำหรับความร่วมมือครั้งนี้ INNOPOWER จะเป็นผู้แทนในการบริหารจัดการและซื้อขายเเลกเปลี่ยน REC ในระยะเวลา 5 ปี โดยคาดว่าโรงผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ หรือ Solar Farm ของ SPCG ทั้ง 36 โครงการในประเทศไทย กำลังการผลิต 260 เมกะวัตต์จะสามารถออก REC ได้ประมาณ 370,000 RECs ต่อปี

นายอธิป กล่าวว่า หากพูดถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ภาคพลังงานคงจะเป็นอันดับแรกๆ ที่ทุกคนอาจนึกถึง ไม่ว่าจะเป็นการใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรม บ้านเรือน หรือแม้กระทั้งการเดินทาง ทั้งหมดล้วนเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน สิ่งหนึ่งที่เป็นภารกิจของ INNOPOWER คือ การค้นหาเทคโนโลยีที่จะทำให้การใช้ชีวิตของเราทุกคนเป็นไปได้อย่างปกติ แต่ในขณะเดียวกันต้องทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดน้อยลง รวมทั้งทำให้การใช้ชีวิตประจำวันเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นด้วย เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมต้องมีการกล่าวถึงเรื่องของพลังงานทดแทนอย่างแน่นอน เพราะการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนนั้นช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมาก INNOPOWER จึงเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดผ่านธุรกิจการซื้อขายใบรับรองพลังงานหมุนเวียน
(I-RECs) นอกจากนั้น INNOPOWER ยังเสาะแสวงหาเทคโนโลยีต่างๆ ที่จะทำให้การใช้พลังงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงในอนาคตจะมีการเฟ้นหานวัตกรรมต่างๆ ในการผลิตไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้นด้วย ซึ่งสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของ INNOPOWER ในการให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ส่งเสริมความยั่งยืนในธุรกิจ 
และเดินหน้าต่อยอดธุรกิจพลังงานสีเขียว เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนด้วยเช่นกัน

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button