ธนาคาร

“ธนาคารไทย” เปิดรับเทคโนโลยี แต่ยังเผชิญความท้าทายในการก้าวสู่ดิจิทัลมุมมองจากนักการเงินในงานสัมมนา Engage Asia 2023

 

  • กว่า 70% ของธนาคารล้มเหลวในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายมหาศาลและใช้เวลาพัฒนานานเกินไป
  • ประเทศไทยพัฒนาเทคโนโลยีการเงินได้รวดเร็ว แต่ยังขาดการเชื่อมต่อและการอินทิเกรดระบบทั้งหมดให้อยู่ภายใต้แพลตฟอร์มเดียวกัน
  • Engagement Banking จะมีส่วนสำคัญในการยกระดับบริการของธนาคารให้อยู่บนแพลตฟอร์มเดียว

ธนาคารและสถาบันการเงินของไทย สนใจลงทุนในเทคโนโลยีที่รวมฟีเจอร์ใหม่ที่น่าสนใจไว้ด้วยกัน อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญด้านธนาคารดิจิทัลจากงานสัมมนา Engage Asia 2023 เน้นย้ำว่า  ความท้าทายในการพัฒนาธนาคารดิจิทัล อยู่ที่การขาดการรวบรวมบริการธนาคารของไว้ในที่เดียว ทำให้ข้อมูลของลูกค้ากระจัดกระจาย ไม่สามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีในการนเสนอบริการให้ลูกค้าได้

ระบบงานส่วนใหญ่ของธนาคารยังทำงานในแบบไซโลที่ขาดสื่อสารเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกัน คนในแวดวงธนาคาร ระบุว่า ความท้าทายหลักของการก้าวสู่ดิจิทัลของธนาคารไทย อยู่ที่การบูรณาการระบบที่แยกส่วนเหล่านี้เข้าด้วยกันกับฐานข้อมูลและเทคโนโลยีด้านการเงิน หากก้าวข้ามจุดนั้นได้ธนาคารจะประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล

ยูค เพลเตอร์ ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของแบ็กเบส กล่าวว่า การดำเนินการของธนาคารในปัจจุบันยังมีประสิทธิภาพไม่ดีพอ แม้จะยังคงทำกำไรได้มากแต่เรามักเห็นธนาคารต่างๆ เลือกใช้โซลูชันเพียงบางส่วนจากเทคโนโลยีที่มีอยู่เพื่อนำเสนอบริการทางการเงินใหม่ๆ ในทางตรงกันข้ามการปรับปรุงบริการของธนาคารให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง มุ่งเน้นที่การเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้าผ่านการอัพเดทระบบจากพื้นฐาน ให้ความสำคัญกับการบูรณาการระบบเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า เป็นกลยุทธ์ที่ช่วยสร้างการมีส่วนร่วมของลูกค้าตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางอย่างแท้จริง  และเป็นข่าวดีที่ธนาคารเหล่านี้สามารถนำเสนอบริการใหม่ได้ด้วยต้นทุนที่ลดลง

“การปฏิวัติทางดิจิทัลในภาคการธนาคารของเอเชียกำลังได้รับแรงผลักดัน ธนาคารต่างๆ พบว่าตัวเองกำลังอยู่บนทางแยกในการก้าวสู่ดิจิทัลหรือนำเสนอบริการแบบเดิมซึ่งแน่นอนว่าให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยเตรียมออกใบอนุญาตธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (Virtual Bank) ในปี 2567 การแข่งขันในธุรกิจธนาคารจะรุนแรงขึ้น แพลตฟอร์มที่สนับสนุนให้ธนาคารสามารถสร้างการมีส่วนร่วมที่มีเอกลักษณ์ แตกต่าง และยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลางได้ จะมีบทบาทสำคัญในภูมิทัศน์การเงินใหม่ที่กำลังจะเกิดชึ้น” ยูค เพลเตอร์ กล่าว

ฤทธี ดัตตา รองประธาน ภูมิภาคเอเชียแบ็กแบส กล่าวว่า ระบบธนาคารที่สร้างการมีส่วนร่วมสามารถนำข้อมูลของลูกค้ามาให้บริการบนแพลตฟอร์มเดียวกัน ใช้ประโยชน์จากกระบวนการที่ทำซ้ำได้ โดยใช้ AI และ Machine Learning มาช่วยในการนำเสนอบริการ สามารถลดการทำงานแบบแมนนวล ช่วยสร้างการมีส่วนร่วมของลูกค้า และเป็นพื้นฐานในการเปลี่ยนแปลงจากการธนาคารแบบดั้งเดิมที่เน้นระบบเป็นหลัก ไปสู่การธนาคารเพื่อการมีส่วนร่วมที่มีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง

งานวิจัยล่าสุดโดย Backbase และ IDC พบว่าธนาคารขนาดใหญ่ส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกตัดสินใจสร้างแพลตฟอร์มธนาคารขึ้นเอง ส่งผลให้ 70% ของธนาคารล้มเหลวในการก้าวสู่ดิจิทัล เนื่องจากการพัฒนาแพลตฟอร์มขึ้นเองต้องใช้ความพยายามอย่างหนักและมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก

 เทคโนโลยีจาก Backbase ผู้นำระดับโลกด้าน แพลตฟอร์มการธนาคารเพื่อการมีส่วนร่วม ได้รับการออกแบบมาเพื่อรวมระบบที่หลากหลายมาอยู่บนแพลตฟอร์มเดียวกันแบบออมนิแชนแนล เพื่อปรับปรุงธนาคารให้ทันสมัยอย่างรวดเร็ว ความยืดหยุ่นของโซลูชัน “Adopt & Build” หรือการประยุกต์ใช้และสร้าง เป็นรูปแบบที่ธนาคารต้องการเพื่อเร่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลโดยยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง แนวทางนี้ช่วยเร่งการพัฒนาแอปพลิเคชันและการเปิดตัวบริการใหม่ๆ และให้อิสระกับแต่ละธนาคารในการปรับแต่ง UI และ UX ให้เหมาะกับความต้องการเฉพาะของลูกค้า

โซลูชันของ Backbase ใช้ AI และ Machine Learning เพื่อวิเคราะห์และปรับปรุงประสบการณ์โดยรวม กรณีที่น่าสังเกตเกี่ยวข้องกับธนาคารแห่งหนึ่งที่มีลูกค้ารายย่อย 8.2 ล้านราย โดย 87% เป็นลูกค้าใหม่ การใช้งานจริงนี้ส่งผลให้ธุรกรรมเพิ่มขึ้น 40% โดยขณะนี้ลูกค้ารายย่อยสร้างรายได้ให้กับธุรกิจมากกว่า 30% ขณะเดียวกันก็ลดต้นทุนการดำเนินงานได้ 30% เมื่อเทียบกับสาขาแบบเดิม

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button