โรงพยาบาล

สกสว.ดัน 5 เมืองนำร่องสมาร์ทซิตี้

สกสว. เดินหน้าพัฒนาสมาร์ทซิตี้ 5 เมืองหลัก ผนึกสถาบันการศึกษาในพื้นที่สร้างเครื่องมือขับเคลื่อนความเป็นไปได้ จับตา “สระบุรีพัฒนาเมือง” จุดประกาย 3  ประเด็นหลักให้เกิดผลเป็นรูปธรรมจริง

นางสาวปิยะนุช ธูปถมพงศ์ หัวหน้าโครงการ การศึกษาเครื่องมือและกระบวนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เปิดเผยว่า ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสนับสนุนการวิจัยให้กับโครงการต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดสระบุรีโดยเฉพาะโครงการสมาร์ทซิตี้ซึ่งสระบุรีจัดเป็น 1 ในจำนวน 5 เมืองหลักที่ สกสว. จะเข้าไปให้การสนับสนุนเพื่อขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรมตามแผนต่อไป คือ เชียงใหม่ ระยอง สงขลา ขอนแก่น และสระบุรี

โดยบทบาท สกสว.นั้นจะเป็นหน่วยสนับสนุนเครื่องมือให้แต่ละเมืองนำไปขับเคลื่อนในเรื่องสมาร์ทซิตี้ได้อย่างเป็นรูปธรรมใน 6 แพลตฟอร์มที่กำหนดไว้ ให้แต่ละเมืองสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับที่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) กำหนดเพื่อทำให้เมืองนั้นๆ สามารถพัฒนาให้เป็นเมืองอัจฉริยะหรือ Smart City จริงๆ

“5 เมืองหรือ 5 จังหวัดที่คัดเลือกมาถือว่ามีความพร้อมในหลายประเด็นแต่ยังจะขยายไปยังเมืองอื่นๆ เพิ่มในระยะต่อไป เมืองเหล่านี้ล้วนมีศักยภาพในการก้าวเข้าสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ เมืองพร้อม คนพร้อมที่จะก้าวไปสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ ประการหนึ่งนั้น แต่ละเมืองสามารถเก็บรวบรวมรายละเอียดต่างๆ ไว้พร้อมแล้วจึงต่อยอดได้ทันที ในส่วนความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาต่างๆ นั้นจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ด้านพลเมือง ซึ่งจะมีการลงพื้นที่ของนักวิจัยร่วมกับสถาบันการศึกษาในพื้นที่เพื่อหาข้อสรุปในการขับเคลื่อนโครงการให้ไปสู่ความสำเร็จ”

ด้านนายนพดล ธรรมวิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทสระบุรีพัฒนาเมือง จำกัด กล่าวว่าในเบื้องต้นนั้น เมืองสระบุรีอัจฉริยะ (SMART SARABURI) เลือกดำเนินการใน 3 รูปแบบหลัก คือ 1.SMART ECONOMY 2.SMART PEOPLE 3.SMART LIVING โดยมีแผนดำเนินการในสาขาย่อยอีกหลายส่วนดังนี้คือ SMART MOBILITY ,SMART ENERGY, SMART ENVIRONMENT, SMART SECURITY และ SMART HEALTHY

“วัตถุประสงค์เพื่อลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ ด้านการเข้าถึงการศึกษาที่ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงในอนาคต การเดินทางสาธารณะที่มีคุณภาพและปลอดภัย การใช้พลังงานทดแทน และบริหารการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การดูแลสิ่งแวดล้อมให้มีความสวยงาม ปลอดภัย การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยดูแลความปลอดภัย การนำนวัตกรรมมาใช้ในการจัดการบริการด้านสาธารณสุขทั้งการป้องกันและรักษาให้มีคุณภาพ นั่นเอง”

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button