กรมชลฯ ทุ่ม 938 ล้านบาท แก้แล้ง-น้ำท่วม กางแผนสร้างอางเก็บน้ำแม่สกึ๋น 2
กรมชลประทาน เรงศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมอางเก็บน้ำแม่สกึ๋น 2 ที่อําเภอสอง จังหวัดแพร่ พร้อมทุ่ม งบประมาณกว่า 938 ล้านบาท สร้างระบบชลประทานแก้ภัยแลเง-น้ำท่วม หนุนพื้นที่การเกษตรเพิ่มกว่า 7,940 ไร่
นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า เนื่องจากประชาชนในพื้นที่ ม.6 บ้านดอนแก้ว ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ ประสบปัญหาภัยแล้ง ไม่มีที่กักเก็บน้ำไว้เพื่อทําการเกษตร และในช่วงฤดูน้ำหลากก็ประสบกับปัญหาน้ำท่วมเป็นประจําทุกปี ในปี 2558 ม.นเรศวร ได้ดําเนินโครงการศึกษา หาทางออกแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษาการพัฒนาแหล่งเก็บกักในลุ่มน้ำยมตอนบน และได้เสนอโครงการพัฒนา แหลงน้ำที่มีศักยภาพในเขต ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร (สะเอียบโมเดล) หลายแห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำห้วยเป่า อางเก็บน้ำห้วยโป่ง อางเก็บน้ำห้วยแม่เตน รวมทั้ง “อ่างเก็บน้ำห้วยแม่สกึ๋น 2”
และวันที่ 1 กรกฎาคม 2559 คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) มีมติรับทราบแนวทางแก้ไขปัญหาในพื้นที่ลุมน้ำยม และให้กรมชลประทานนําไปดําเนินการพิจารณาความเป็นไปได้ของโครงการพัฒนาแหล่งน้ำที่เป็นความต้องการของประชาชน
ต่อมาในเดือน กันยายน 2561 สํานักบริหารโครงการ กรมชลประทาน ได้จ้างที่ปรึกษาดําเนิน โครงการศึกษาความเหมาะสมและวิเคราะห์ 8 ผลกระทบสิ่งแวดล้อม อ่างเก็บน้ำแม่สกึ๋น 2 เพื่อศึกษาจัดทํารายงานการศึกษาความเหมาะสม (Feasibility Study) จัดทําแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขผลกระทบ สิ่งแวดล้อม พร้อมแผนติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIMP) โดยมีวัตถุประสงค์ให้อ่างเก็บน้ำดังกล่าวเป็นแหล่งเก็บกักน้ำเพื่อการเกษตร สําหรับอุปโภค-บริโภคของประชาชน ตลอดจนสัตว์เลี้ยงในฤดูแล้ง ทั้งบรรเทาความเสียหายเนื่องจากอุทกภัย และยกระดับคุณภาพชีวิตของราษฎรที่อยูในเขตพื้นที่โครงการ
โดยโครงการอ่างเก็บน้ำแม่สกึ๋น 2 จะตั้งอยูที่ ม.6 บ้านดอนแก้ว ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ เป็นเขื่อนดินถมแบ่งส่วน (Zoned Dam) พื้นที่รองรับน้ำฝน 104.39 ตร.กม. ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ 23.95 ล้าน ลบ.ม. ความจุเก็บกัก 19.67 ล้าน ลบ.ม. ระดับน้ำเก็บกัก +314.00 ม.(รทก.) ความยาวสันเขื่อน 300 ม. ความสูงเขื่อน 46.00 ม. ความกว้างสันเขื่อน 8.00 ม. มูลค่าแผนการกอสร้างรวมอยู่ที่ 938.89 ล้านบาท แบ่งเป็นถนนเข้าโครงการทํานบดิน อาคารระบายน้ำลงลําน้ำเดิม อาคารระบายน้ำล้นรวม 428.81 ล้านบาท ค่าอํานวยการก่อสร้างและอาคารประกอบรวมระบบ ชลประทาน 506 ล้านบาท โดยจะเริ่มพิจารณา EIA ในปี 2563 ออกแบบโครงสร้างปี 2564 และหากได้รับ งบประมาณจะเริ่มดําเนินการก่อสร้างได้เร็วที่สุดในปี 2565-2568
ทั้งนี้ ในการออกแบบระบบชลประทานเบื้องต้น พื้นที่ซึ่งจะได้รับประโยชน์ทางด้านการเกษตรมี 2 สวน คือ 1) พื้นที่ท้ายอ่างแม่สกึ๋น 2 เดิมอยู่ที่ 1,049 ไร่จะปรับเพิ่มท่อส่งน้ำให้กับพื้นที่ชลประทานเปิดใหม่ 6,891 ไร่ และ 2) เพิ่มพื้นที่ชลประทานฝายแม่ยม 6,700 ไร่